วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ปราสาทหินพิมาย


ปราสาทหินพิมาย

ปราสาทหินพิมายเป็นปราสาทที่มีความใหญ่โตและมีความงดงามที่สุดแห่งหนึ่ง ทั้งยังเป็นโบราณสถานที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศไทยอีกด้วย ตัวปราสาทอยู่ใกล้กับแม่น้ำมูล
ปราสาทหินพิมายชนชาติขอมในสมัยโบราณได้สร้างขึ้นในราวศตวรรษที่ 16 - 17 ซึ่งตรงกับรัชกาลของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ต่อมาพระเจ้าสุริยวรมันที่ 6 และที่ 7 ได้สร้างต่อเพิ่มเติม
ปราสาทหินพิมายสร้างขึ้นไว้เนื่องในศาสนาพุทธลัทธิมหายานและศาสนาพราหมณ์ทั้งสามนิกาย เพื่อเป็นพุทธศาสนสถานและเทวสถานของมหาชนทั้งชาวพุทธแลพราหมณ์ ปราสาทแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นก่อนปราสาทนครวัตในประเทศกัมพูชาและก่อนปราสาทหินพนมรุ้ง จัดเป็นโบราณสถานที่มีความสวยงามทั้งในด้านสถาปัตยกรรมและประติมากรรม และ


เป็นต้นแบบของปราสาททุกแห่งในภาคพื้นเอเชีย ทั้งยังแสดงให้เห็นถึงความรู้ความสามารถของคนในสมัยนั้นอีกด้วย
รูปแบบของปราสาทหินพิมาย ประกอบด้วยกำแพงสี่เหลี่ยมล้อมด้วยรอบสร้างด้วยหินทรายแดง มีซุ้มประตูทั้ง 4 ทิศ ประตูใหญ่อยู่ทางทิศใต้ (หน้าปราสาทหันไปทางทิศใต้) ซึ่งตรงกับประตูเมืองคือ ประตูชัย ตัวปราสาทมี 3 องค์ ประกอบด้วยปรางค์ประธานหรือปราสาทหลังกลาง มีปรางค์อีก 2 องค์ เรียกว่า ปรางค์พรหมทัต และปรางค์หินแดง (ชาวบ้านเรียกปรางค์นาอรพิน) หลังปราสาทหินแดงเป็นหอพราหมณ์ ทั้งหมดนี้มีระเบียงคตล้อมรอบ ด้านตะวันตกมีบรรณาลัยอยู่ด้านหลังมีกำแพงสี่เหลี่ยมล้อมรอบ และมีซุ้มประตูทั้ง 4 ทิศ เป็นคูหาติดต่อถึงกันตลอด ด้านเหนือและด้านใต้กว้าง 220 เมตร ด้านตะวันออกและด้านตะวันตกยาว 277.50 เมตร ถัดจากกำแพงจะเป็นลานกว้างใหญ่ มีสระน้ำอยู่ทั้ง 4 มุมของตัวปราสาท และจากบริเวณลานเข้าไปถึงระเบียงคต(กำแพงชั้นใน) มีทางกว้าง 2.35 เมตร ทะลุถึงกันทั้งสี่ด้าน หลังคามุงด้วยแผ่นหิน
บริเวณชั้นในของตัวปราสาท (ปรางค์ 3 หลัง อาคารอีก 3 หลัง) มีลานทางด้านเหนือและด้านใต้กว้าง 58 เมตร ด้านตะวันออกและด้านตะวันตกยาว 66 เมตร
รายละเอียดโบราณสถานภายในตัวปราสาทหินพิมายมีดังนี้
ปรางค์ประธาน เป็นสถาปัตยกรรมหลักและเป็นศูนย์กลางของศาสนาสถานแห่งนี้ สร้างด้วยหินทรายขาว หันหน้าไปทางทิศใต้ สูง 28 เมตร ฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้าง 22 เมตร มีมุข 3 ด้าน คือ ทางทิศเหนือ ตะวันออกและตะวันตก ส่วนยอดปรางค์หรือหลังคาทำเป็นชั้น ๆ ลดหลั่นกันไป เรียกว่าชั้นเชิงบาตร รวม 5 ชั้น ประดับด้วยกลีบขนุนปรางค์และประติมากรรมหินทรายเป็นรูปสัตว์และเทพต่าง ๆ ยอดบนสุดสลักเป็นรูปดอกบัว
หอพราหมณ์ สร้างด้วยหินทรายและมีศิลาแลงแซมบางส่วน อยู่ด้านหน้าของปรางค์ประธานทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมหินผ้าขนาด 6.50 X 17 เมตร มีมุกขื่นออกไปเป็นบันได้และประตูเข้า - ออก ภายในอาคารพบศิวลึงค์หินทราย จึงเชื่อว่าคงเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาพราหมณ์ จึงเป็นเหตุ เรียกว่า หอพราหมณ์
ปรางค์หินแดง ตั้งอยู่บนฐานเดียวกับหอพราหมณ์ สร้างด้วยหินทรายสีแดง ฐานปรางค์เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้าง 11.40 เมตร สูง 15 เมตร มีมุขยื่นออกไป 4 ทิศ ที่มุขแต่ละด้าน มี 1 ประตู จากการขุดแต่งพบว่าแท่งหินที่ใช้ต่อฐานบางท่อนมีลวดลายสลัก แต่วางกลับข้างจากบนลงล่าง แสดงว่าคงรื้อเอาวัสดุเก่ามาใช้ในการก่อสร้างและคงสร้างพรอ้มกับหอพราหมณ์เนื่องจากอยู่บนฐานเดียวกัน
ปรางค์พรหมทัต ตั้งอยู่แนวเดียวกันกับปรางค์หินแดง สร้างด้วยศิลาแลงฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้าง 14.50 เมตร สูง 16 เมตร ภายในพบประติมากรรมหินทรายรูปบุคคล 2 รูป รูปหนึ่งเป็นบุคคลขนาดใหญ่นั่งขัดสมาธิ เชื่อกันว่าเป็นรูปของพระเจ้าขัยวรมันที่ 7 ซึ่งเรียกกันว่าท้าวพรหมทัต อีกรูปหนึ่งเป็นสตรีนั่งคุกเข่า ศรีษะ และแขนขาด ไปเหลือแต่ลำตัว เชื่อกันว่าเป็นรูปของพระนางราชเทวีมเหสีของพระเข้าชัยวรมันที่ 7 ชาวบ้านเรียกกันว่า นางอรพิมพ์
ฐานอาคาร ตั้งอยู่ระหว่างซุ้มประตูกำแพงชั้นในด้านทิศตะวันออกกับปรางค์ประธาน มีลักษณะคล้ายฐานปรางค์ สร้างด้วยหินทรายสีแดงเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 8.15 เมตร สูง 70 เมตร
ธรรมศาลา ก่อนจะเข้าสู่บริเวณภายในกำแพงปราสาทหินพิมาย มีอาคารหลังหนึ่งตั้งอยู่ทางซ้ายมือหันหน้าเข้าสู่ถนน เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 26 x 35.10 เมตร สร้างด้วยหินทราย มีบันไดและประตูเข้าสู่อาคารทั้งด้านตะวันออกและตะวันตกข้าง ๆ ประตูจริงเป็นประตูหลอกด้านละ 1 ประตู มีการกั้นแบ่งเป็นห้อง ๆ โดยทุกห้องมีประตูทะลุถึงกันอาคารหลังนี้ใช้เป็นสถานที่พักเตรียมพระองค์สำหรับกษัตริย์ หรือเจ้านายชั้นสูงยามเสด็จมาประกอบพิธีทางศาสนา รวมทั้งเป็นที่พักจัดขบวนปัจจัย ของถวายต่าง ๆ ที่ใช้ในพิธี
สะพานนาคราช เป็นสะพานสร้างด้วยหินทรายตั้งอยู่ตรงหน้าซุ้มประตูกำแพงชั้นนอกเป็นรูปกากบาทขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 3170 เมตร ยกพื้นสูงจากพื้นดินประมาณ 2.50 เมตร มีบันไดขึ้นลง 3 ด้าน เชิงบันไดทำเป็นอัฒจันทร์ รูปปีกกา ราวสะพานโดยรอบทำเป็นลำตัวของนาคราชชูคอแผ่พังพางมี 7 เศียรที่เชิงบันไดมีประติมากรรมรูปสิงห์ทำด้วยหินทราย เสาและขอบสะพานสลักลวดลายงดงาม
กำแพงชั้นนอกและซุ้มประตู
กำแพงชั้นนอก สร้างด้วยหินทราย มีศิลาแลงแทรกเป็นบางส่วนขนาดประมาณ 220 X 277.50 เมตรมีประตูหลอกทำเลียนแบบบานประตูไว้ 2 บาน กำแพงชั้นนอกด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ที่สุดคือยังมีความสูงเหลืออีก 8 เมตร
ซุ้มประตู ที่กึ่งกลางกำแพงชั้นนอกทั้ง 4 ด้าน เป็นซุ้มประตูหรือที่เรียกกันว่า โคปุระ สร้างดินหินทรายผังโดยรวมของประตูซุ้มมีลักษณะเป็นรูปกากบาท มีประตูผ่านเข้าได้ 3 ทาง คือ ประตูกลางผ่านทางห้องมุขและประตูข้างทางห้องริมสุด 2 ข้าง
ทางเดินเข้าสู่ปราสาท เป็นทางเดินที่สร้างดินหินทรายสูงขึ้นมาประมาณ 1 เมตร มีบันไดลงจากทางเดินสู่พื้นล่างที่มุมทั้งสี่ และทั้งสองข้างของช่องกลางตลอดแนว ทางเดินที่เชื่อมตัดกันมีหลุมเสาตั้งเรียงกันอยู่เป็นระยะ ๆ จาการขุดแต่งบริเวณนี้ใน พ.ศ.2530 ได้พบเศษกระเบื้องและบภลีดินเผาเป็นจำนวนมาก สันนิษฐานได้ว่ายกพื้นทางเดินทั้งหมดนี้มีลักษณะเป็นระเบียงโปร่ง หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผารองรับด้วยเสาไม้ซึ่งผุพังไปหมดแล้ว
บรรณาลัย ตั้งอยู่บริเวณลานชั้นนอกซีกตะวันตก ระหว่างประตูซุ้มกำแพงชั้นในและชั้นนอก เป็นรูปสี่เหลี่ยมกว้าง 25.50 X 26.50 เมตร จำนวน 2 หลัง อาคาร 2 หลังนี้จัดเป็นอาคารใหญ่ ไม่มีหลักฐานให้ทราบชัดถึงประโยชน์ใช้สอยที่แท้จริง เรียกต่อ ๆ กันมาว่า บรรณาลัย ซึ่งหมายถึง สถานที่เก็บรักษาคัมภีร์ต่าง ๆ ทางศาสนาเทียบกับวัดของเราในปัจจุบันก็คงจะเทียบได้กับ “หอไตร” นั่นเอง แต่เมื่อพิจารณาสภาพภายในอาคารแล้วชวนให้สันนิษฐานว่าน่าจะใช้ประโยชน์อย่างอื่น เช่น อาจเป็นที่ประกอบศาสนกิจของพระสงฆ์ในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน อันเป็นศาสนาหลักของศาสนาสถานแห่งนี้ หรืออาจเป็นที่พักกระบวนเสด็จของกษัตริย์หรือเจ้านายก็เป็นได้
สระน้ำ ตั้งอยู่ที่มุมทั้ง 4 ของลานชั้นนอก มีขนาดไม่เท่ากันและตำแหน่งที่ตั้งก็ไม่อยู่ในแนวตรงกัน นอกจากนี้ที่บริเวณนี้ยังเคยเป็นที่ตั้งของวัดต่าง ๆ ซึ่งได้ย้ายออกไปสร้างใหม่ข้างนอกปราสาทแล้ว รวมทั้งสิ้น 4 วัด คือวัดสระหิน วัดพระปรางค์ใหญ่ วัดโบสถ์ (ซึ่งมีพระอุโบสถ เรียกกันว่า โบสถ์เจ้าพิมาย) และวัดพระปรางค์น้อย จากการที่เรียกชื่ออุโบสถว่า โบสถ์เจ้าพิมาย ประกอบกับได้พบพระพุทธรูปสมัยอยุธยาตอนปลาย เมือครั้งกรมหมื่นเทพพิพิธมาสะสมกำลังตั้งตัวเป็นใหญ่คราวเสียกรุงครั้งที่สอง เรียกว่า ก๊กเจ้าพิมาย สระน้ำทั้งหลายจึงคงเป็นสระน้ำที่วัดเหล่านั้นขุดขึ้นมาใช้ประจำวัดนั่นเอง
กำแพงชั้นในและซุ้มประตู
กำแพงชั้นใน สร้างด้วยหินทรายเป็นห้องยาวต่อเนื่องกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ล้อมรอบลานปราสาทชั้นใน กว้าง 2.35 เมตร ยาวจากเหนือ - ใต้ 72 เมตร จากตะวันออก - ตะวันตก 80 เมตร อยู่สูงจากพื้นดิน 1 เมตร ภายในเดินทะลุถึงกันได้ ส่วนผนังด้านนอกปิดทึบ ทำเป็นหน้าต่างหลอดประดับด้วยลูกมะหวด
ซุ้มประตูของกำแพงชั้นใน สร้างด้วยหินทรายเช่นกัน มี 4 ประตู ลักษณะคล้ายซุ้มประตูกำแพงชั้นนอก แต่เล็กกว่ามีจารึกบนกรอบประตูด้วยอักษรของโบราณกล่าวถึงชื่อ “กมรเตงชคตวิมาย” และการสร้างรูปเคารพชื่อ “กมรเตงชคตเสนาบดีไตรโลกยวิชัย”ใน พ.ศ.1651 ทับหลังของซุ้มประตูส่วนใหญ่พังทลายลง ปัจจุบันได้นำบางส่วนเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมายส่วนที่เหลือได้นำไปติดตั้งที่โบราณสถานแล้ว ภาพสลักทับหลังดังกล่าวเป็นศิลปะแบบปาปวนนครวัด
เมรุพรหมทัต ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทหินพิมายเป็นซากเนินเจดีย์ขนาดใหญ่ ก่อด้วยอิฐ สาเหตุที่เรียกชื่อว่าเมรุพรหมทัตนั้นคงเป็นเรื่องเชื่อมโยงกับนิทานพื้นบ้านเรื่องนางอรพิมพ์กับท้าวปาจิต ซึ่งเล่ากันว่าสถานที่นี้ คือที่ถวายพระเพลิงท้าวพรหมทัต
ปราสาทหินพิมายมีลักษณะเด่นและสำคัญคือ เป็นปราสาทหินที่มีขนาดใหญ่โต ได้รับการบูรณะเมื่อ ปี พ.ศ 2507 และเสร็จเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2511 ตามหลักวิชาบูรณะแบบ อนัสติโลซิส ลวดลายจำหลักมีคุณค่าสูงส่งทางศิลปะ
ได้มีพิธีเปิดอุทยานประวัติศาสตร์พิมายอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2532 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธาน
http://www.hamanan.com/tour/nakhonratsima/utayanpimai.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น