วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553


มีพื้นที่ทั้งหมด 115 ไร่ อยู่ในอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา เป็นที่ตั้งของปราสาทหินแบบขอมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดใน ประเทศไทย คือ ปราสาทหินพิมาย อันเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนานิกายมหายาน พุทธศตวรรษที่ 16-19 ทำพิธีเปิด อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2532

ความสำคัญ


ศาสนสถานในพุทธศาสนานิกายมหายานราวพุทธศตวรรษที่ 16-19 สร้างในรัชสมัยของพระเจ้าสุริยะวรมันที่ 1 ศิลปะ แบบบาปวน นครวัด บายน ในสมัยอยุธยาตอนปลายเคยเป็นสถานที่ซ่องสุมผู้คนของกรมหมื่นเทพพิพิธเพื่อต่อสู้พม่า ที่รู้จักกันในนามของก๊กเจ้าพิมาย ซึ่งต่อมาได้พ่ายแพ้แก่กองทัพพระเจ้าตากสินที่ออกปราบปรามก๊กต่าง ๆ
จุดสนใจ


ปรางค์ใหญ่ ก่อด้วยศิลาทรายสีขาวล้วน เป็นปราสาทหินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย แปลกจากปราสาทขอมโดย ทั่วไป คือ มีมณฑปอยู่ที่เรือนธาตุทางทิศใต้ และมีลายจำหลักรูปครุฑแบกบนยอดปราสาททั้ง 4 ทิศ ภาพจำหลักศิลาทาง พุทธศาสนาบนทับหลังเหนือประตูชั้นในรอบองค์ปรางค์ ทิศใต้เป็นภาพพระพุทธรูปปางนาคปรก ล้อมรอบด้วยพระพุทธ รูปทรงเครื่อง 5 องค์ ทิศเหนือเป็นรูปพระโพธิสัตว์ 5 องค์ ทิศตะวันตกเป็นพระพุทธแสดงธรรมเทศนาแก่พระยามาร และบริวาร ทิศตะวันออกเป็นรูปพระโพธิสัตว์ไตรโลกยวิชัย 4 พักตร์ 8 กร และพระพุทธรูปปางสมาธิทรงเครื่อง 10 องค์ ทับหลังทั้งสี่นี้เป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงว่าปราสาทหินพิมายเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนา


ภาพจำหลักเกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ใช้ประดับแตกแต่งบริเวณหน้าบันและทับหลังด้านนอก


ปรางค์พรหมฑัต ปรางค์ศิลาแลงข้างปรางค์ประธาน สร้างโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในช่วง พ.ศ. 1724-1763 เป็นที่ตั้ง ของประติมากรรมรูปพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ศิลปะแบบบายน ซึ่งชาวบ้านเรียกกันว่า “รูปท้าวพรหมฑัต”


ปรางค์หินแดง อยู่ข้างปรางค์ประธาน สร้างด้วยหินทรายสีแดง สมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ในพุทธศตวรรษที่ 17
http://www.moohin.com/activity/history141.shtml

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น