วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ปราสาทหินพิมาย


ปราสาทหินพิมาย เป็นศาสนสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคอีสาน ปราสาทแห่งนี้ตั้งอยู่ใจกลางเมืองพิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา อันเป็นจังหวัดใหญ่ เป็นประตูเข้าสู่ดินแดนอีสาน

การสร้างปราสาทหินพิมายนอกจากจะสร้างเป็นพุทธสถานและเทวสถานตามแบบศาสนาฮินดูแล้ว ยังหมายถึงลัทธิการบูชาบุคคล อันเป็นคติความเชื่อของคนพื้นเมืองโบราณหลายเผ่า เช่น จาม ชวา บาหลี และขอม เป็นต้น เชื่อกันว่า ผู้สร้างปราสาท เมื่อสิ้นชีวิตแล้วจะเข้าไปสถิตย์รวม อยู่กับเทพเจ้า

การสร้างปราสาททั้งพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์เกิดจากความเชื่อที่ว่า เขาพระสุเมรุ คือแกนกลางของโลก อันหมายถึงองค์ปราสาท ที่เป็นจุดศูนย์กลาง ส่วนกำแพงล้อมรอบ หมายถึงอาณาเขตแห่งจักรวาล ต่อจากนั้นก็เป็น มหาสมุทรนทีสีทันดร สระน้ำที่อยู่ถัดจากปราสาท หมายถึงมหาสมุทรนั่นเอง ส่วนปราสาทแต่ละชั้น หรือแต่ละเขตก็จะมีสัตว์หิมพานต์ เช่น มีพญานาค ครุฑ ยักษ์ เทวดา ไปจนถึง พระนารายณ์ พระอิศวร

ปราสาทองค์ประธาน อันเป็นแกนแห่งเขาพระสุเมรุ เป็นที่ประดิษฐาน พระศิวลึงค์ หรือรูปเคารพที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์ รูปเคารพที่ปราสาทหินพิมาย เชื่อว่าเป็น กมรเตงคตวิมาย เป็นรูปเคารพที่สำคัญที่สุดของพุทธสถาน ชื่อนี้กล่าวไว้ในจารึก

ลักษณะทั่วไปของปราสาทหินพิมาย

ปราสาทหินพิมายตั้งอยู่ตรงศูนย์กลางของเมือง พิมาย ริมฝั่งแม่น้ำมูล เมืองนี้เป็นชุมชนขนาดใหญ่ ตั้งอยู่กลางพื้นที่ราบ ที่เรียกกันว่า ทุ่งสัมฤทธิ์ เป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญ เพราะพื้นที่อุดมสมบูรณ์ ปราสาทแห่งนี้เป็นพุทธสถานของพุทธศาสนามหาญาณ ลักษณะแผนผังของพุทธสถานเป็นรูปกากบาท ประกอบด้วยอาคารสำคัญ 3 หลัง คือ ปรางค์ใหญ่ ปรางค์พรหมทัต และปรางค์หินแดง อยู่บริเวณชั้นในของซุ้มประตู คูหาติดต่อกันสี่ทิศรูปกากบาท มุมกำแพงอันเป็นลานชั้นนอก มีสระน้ำอยู่ทั้ง 4 มุม ประตูทางเข้าด้านทิศใต้ เป็นด้านหน้าของปราสาท จะมีสะพานนาคเป็นทางเข้าสู่ตัวปราสาท

ปราสาทหินพิมายเป็นพุทธสถานมหาญาณที่สวยงามอย่างยิ่ง ปรางค์ใหญ่องค์ประธาน จะประกอบด้วย เรือนธาตุ คือ รูปอาคารสี่เหลี่ยมจตุรัสมีมุขยื่นออกทั้ง 4 ทิศ แต่ละมุขทิศ จะมีรูปสลักเป็นพระพุทธรูป ดังนี้

มุขทิศใต้ พระพุทธรูป ปางนาคปรก
มุขทิศตะวันตก พระพุทธรูป ปางเทศนาแก่พญามาร
มุขทิศเหนือ พระพุทธรูป ปางพระวัชรสัตว์ 5 พระองค์
มุขทิศตะวันออก พระพุทธรูป เป็นพระทรงเครื่อง ปางสมาธิ 10 องค์
ที่หน้าบันของมุขประสาท ทั้ง 4 ด้าน มีภาพสลักสวยงาม ดังนี้

หน้าบันมุขด้านใต้ สลักเป็นภาพ พระอิศวรฟ้อนรำ 108 ท่า เรียก ภาพ ศิวนาฏราช
หน้าบันมุขด้านตะวันตก สลักเป็นภาพ พระกฤษณะ กำลังยกภูเขาโควรรธนะ และเรื่องรามเกียรติ ตอนพระรามจองถนน
หน้าบันมุขทิศเหนือ สลักเป็นภาพ การรบในเรื่องรามเกียรติ์ และรูปพระนารายณ์ 4 กร
หน้าบันมุขด้านตะวันออก สลักเป็นภาพ รามเกียรติ์ ตอนท้าวมาลีวราชว่าความและภาพพระรามฆ่ายักษ์วิราธ
ปรางค์พรหมทัต อยู่ด้านซ้ายของปรางค์ใหญ่ มี ประติมารูปท้าวพรหมทัต และ ประติมารูปนางอรพิม

ปรางค์หินแดง เป็นศาสนสถาน สร้างด้วยหินทรายสีแดง

ส่วนประกอบอื่น ๆ ที่สำคัญของปราสาทหินพิมายที่น่าสนใจมีหลายแห่ง เช่น ประตูชัย คลังเงินหรือธรรมศาลา เสาประกอบพิธีบูชาไฟ พลับพลา กุฎีฤาษี โบสถ์เจ้าพิมาย และเมรุพรหมทัต เป็นต้น

ปราสาทหินพิมายเป็นพุทธสถานที่มีอายุเก่าแก่แห่งหนึ่ง คือ สร้างมาแล้วเกือบ 2,000 ปี เชื่อกันว่า พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 แห่งกัมพูชาเป็นผู้สร้าง (พ.ศ. 1545-1592) สร้างและบูรณะเรื่อยมาจนถึงสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 นี้ เชื่อว่ามีการสร้างปราสารรุ่นเดียวกัน คือ ปราสาทหินพนมวัน (วัดพนมวัน จ.นครราชสีมา) และปราสาทหินพนมรุ้ง (จ.บุรีรัมย์)

http://sathaput.netfirms.com/pimay_castle/pimay_castle.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น