วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ความเชื่อและนิทานท้องถิ่นเกี่ยวกับปราสาทหินพิมาย


ความเชื่อและนิทานท้องถิ่นเกี่ยวกับปราสาทหินพิมาย

ชาวเมืองโคราชซึ่งอยู่ ณ บริเวณเมืองพิมายเล่าสืบกันมาเกี่ยวกับนิทานชาดก อันเป็นนิทานพื้นบ้าน ตามความเชื่อทางพุทธศาสนา ว่า ท้าวปาจิตต์ คือ พระโพธิสัตว์ จุติมาเกิดเป็นโอรสเจ้าเมืองพรหมพันธ์นคร ได้เดินทางไปหาคู่ครองถึงเมืองพาราณสี พบหญิงหม้ายกำลังตั้งท้อง มีแสงอาทิตย์ทรงกลดเป็นเงาบังนางไว้ก็รู้ว่า นางเป็นแม่ของคู่ครองตน คือ นางอรพิม ท้าวปาจิตต์ จึงอาสาทำงานช่วยจนนางอรพิมโตเป็นสาว อายุ 16 ปี จึงได้นางเป็นภรรยา ท้าวปาจิตต์ขอลาแม่ยายไปเยี่ยมบิดา นางอรพิมจึงถูก พรหมทัตกุมารแห่งกรุงพาราณสีฉุดไปขังไว้ในปราสาท ท้าวปาจิตต์จึงตามมาฆ่าพรหมทัตกุมาร พานางหลบหนีไปพักใต้ต้นไทรกลางป่า พรานมาเห็นนางอรพิมสวยมากจึงลอบฆ่าท้าวปาจิตต์และฉุดนางขึ้นหลังควายไป นางอรพิมออกอุบายเอาดาบฟันคอ พรานตายแล้วกลับมาคร่ำครวญถึงท้าวปาจิตต์ พระอินทร์จึงมาชุบชีวิตท้าวปาจิตต์ แล้วให้แท่งยาวิเศษแก่นางอรพิม พอเดินทางต่อไป เณรเห็นนางรูปสวยจึงหลอกให้พรากจากสามีอีก นางเที่ยวหาสามีจนถึงจัมปานคร อธิฐานขอให้เป็นชายและชื่อปาจิตต์ นางช่วยชุบชีวิตธิดาเจ้าเมืองจัมปานคร เจ้าเมืองยกธิดาและยกเมืองให้ ปาจิตต์ขอออกบวช ให้สร้างศาลาและวาดรูปเป็นเรื่องราวที่นางพลัดพรากจากสามี สั่งให้คนแอบสังเกตคนที่มาพัก หากใครดูรูปแล้วร้องไห้ ให้รีบไปบอก ในที่สุดเมื่อท้าวปาจิตต์มาที่ศาลาดูรูปแล้วร้องไห้ นางและสามีจึงได้พบกัน และกลับไปครองเมืองพรหมทัต

ส่วนนิทานพื้นบ้านอีกแนวหนึ่งเกี่ยวกับประวัติเมือง พิมาย เล่าว่า กษัตรย์เมืองนครธมแห่งเขมร มีโอรสชื่อ เจ้าชายปาจิตต์ เดินทางหาคู่ผ่านมาตามลำน้ำมูล พบนางบัวมีเงาบัง (พระอาทิตย์ทรงกลด) ก็อยู่อาสาทำงานจนคลอดนางอรพิม โตเป็นสาว เจ้าชายจึงกลับนครธมนำขันหมากมาสู่ขอ ท้าวพรหมทัตเมืองวิมายบุรีได้ข่าวนางอรพิมสวย จึงบังคับให้นางเป็นภรรยา พอเข้าใกล้นางก็ตัวร้อนเป็นไฟ นางขอผัดผ่อนไป 7 วัน เจ้าชายปาจิตต์มาพอดีแต่เข้าใจผิด จึงเทขันหมากทิ้งลงน้ำ ตามนางไปเมืองวิมายบุรี อ้างว่าเป็นพี่ชายนาง แล้วลอบฆ่าท้าวพรหมทัต พานางกลับนครธมด้านทิศใต้ น้ำกำลังไหลเชี่ยว เณรออกอุบายให้ทั้งสองพลัดกัน นางออกอุบายหนีเณร มาพบพราน ออกอุบายฆ่าพราน ในที่สุดก็ได้พบกัน แล้วกลับมาทำพิธีเผาศพท้าวพรหมทัต เพื่อให้ชาวเมืองวิมายบุรีหายโกรธ แล้วจึงกลับนครธม

นิทานเรื่องนี้มีชื่อต่าง ๆ ที่เป็นสถานที่เกี่ยวข้อง เช่น

หมู่บ้านสำเร็จ หรือ หมู่บ้านสัมฤทธิ์ คือหมู่บ้านที่นางบัวอาศัยอยู่
ถนนนางคลาน คือ ถนนที่นางอรพิมหัดคลาน
บ้านนางเดิน คือ บ้านที่นางอรพิมหัดเดิน
ลำปลายมาศ คือ ลำน้ำที่เจ้าชายปาจิตต์เทขันหมากทิ้ง
บ้านกงรถ คือ บ้านที่เจ้าชายปาจิตต์ทิ้งรถ
เมืองพิมาย คือ เมือง พี่มา คือตอนที่นางอรพิม เรียกท้าวปาจิตต์ตอนกลับมา
ท่านางสระผม คือ ท่าน้ำที่นางอรพิมเคยอาบน้ำ สระผม ท่าน้ำนี้อยู่นอกเขตปราสาท
เมรุพรหมทัต คือ ที่ประกอบพิธีถวายพระเพลิงท้าวพรหมทัต

http://sathaput.netfirms.com/pimay_castle/pimay_castle.htm

ลักษณะทั่วไปของปราสาทหินพิมาย



ลักษณะทั่วไปของปราสาทหินพิมาย

ปราสาทหินพิมายตั้งอยู่ตรงศูนย์กลางของเมือง พิมาย ริมฝั่งแม่น้ำมูล เมืองนี้เป็นชุมชนขนาดใหญ่ ตั้งอยู่กลางพื้นที่ราบ ที่เรียกกันว่า ทุ่งสัมฤทธิ์ เป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญ เพราะพื้นที่อุดมสมบูรณ์ ปราสาทแห่งนี้เป็นพุทธสถานของพุทธศาสนามหาญาณ ลักษณะแผนผังของพุทธสถานเป็นรูปกากบาท ประกอบด้วยอาคารสำคัญ 3 หลัง คือ ปรางค์ใหญ่ ปรางค์พรหมทัต และปรางค์หินแดง อยู่บริเวณชั้นในของซุ้มประตู คูหาติดต่อกันสี่ทิศรูปกากบาท มุมกำแพงอันเป็นลานชั้นนอก มีสระน้ำอยู่ทั้ง 4 มุม ประตูทางเข้าด้านทิศใต้ เป็นด้านหน้าของปราสาท จะมีสะพานนาคเป็นทางเข้าสู่ตัวปราสาท

ปราสาทหินพิมายเป็นพุทธสถานมหาญาณที่สวยงามอย่างยิ่ง ปรางค์ใหญ่องค์ประธาน จะประกอบด้วย เรือนธาตุ คือ รูปอาคารสี่เหลี่ยมจตุรัสมีมุขยื่นออกทั้ง 4 ทิศ แต่ละมุขทิศ จะมีรูปสลักเป็นพระพุทธรูป ดังนี้

มุขทิศใต้ พระพุทธรูป ปางนาคปรก
มุขทิศตะวันตก พระพุทธรูป ปางเทศนาแก่พญามาร
มุขทิศเหนือ พระพุทธรูป ปางพระวัชรสัตว์ 5 พระองค์
มุขทิศตะวันออก พระพุทธรูป เป็นพระทรงเครื่อง ปางสมาธิ 10 องค์
ที่หน้าบันของมุขประสาท ทั้ง 4 ด้าน มีภาพสลักสวยงาม ดังนี้

หน้าบันมุขด้านใต้ สลักเป็นภาพ พระอิศวรฟ้อนรำ 108 ท่า เรียก ภาพ ศิวนาฏราช
หน้าบันมุขด้านตะวันตก สลักเป็นภาพ พระกฤษณะ กำลังยกภูเขาโควรรธนะ และเรื่องรามเกียรติ ตอนพระรามจองถนน
หน้าบันมุขทิศเหนือ สลักเป็นภาพ การรบในเรื่องรามเกียรติ์ และรูปพระนารายณ์ 4 กร
หน้าบันมุขด้านตะวันออก สลักเป็นภาพ รามเกียรติ์ ตอนท้าวมาลีวราชว่าความและภาพพระรามฆ่ายักษ์วิราธ
ปรางค์พรหมทัต อยู่ด้านซ้ายของปรางค์ใหญ่ มี ประติมารูปท้าวพรหมทัต และ ประติมารูปนางอรพิม

ปรางค์หินแดง เป็นศาสนสถาน สร้างด้วยหินทรายสีแดง

ส่วนประกอบอื่น ๆ ที่สำคัญของปราสาทหินพิมายที่น่าสนใจมีหลายแห่ง เช่น ประตูชัย คลังเงินหรือธรรมศาลา เสาประกอบพิธีบูชาไฟ พลับพลา กุฎีฤาษี โบสถ์เจ้าพิมาย และเมรุพรหมทัต เป็นต้น

ปราสาทหินพิมายเป็นพุทธสถานที่มีอายุเก่าแก่แห่งหนึ่ง คือ สร้างมาแล้วเกือบ 2,000 ปี เชื่อกันว่า พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 แห่งกัมพูชาเป็นผู้สร้าง (พ.ศ. 1545-1592) สร้างและบูรณะเรื่อยมาจนถึงสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 นี้ เชื่อว่ามีการสร้างปราสารรุ่นเดียวกัน คือ ปราสาทหินพนมวัน (วัดพนมวัน จ.นครราชสีมา) และปราสาทหินพนมรุ้ง (จ.บุรีรัมย์)

ปราสาทหินพิมาย


ปราสาทหินพิมาย เป็นศาสนสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคอีสาน ปราสาทแห่งนี้ตั้งอยู่ใจกลางเมืองพิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา อันเป็นจังหวัดใหญ่ เป็นประตูเข้าสู่ดินแดนอีสาน

การสร้างปราสาทหินพิมายนอกจากจะสร้างเป็นพุทธสถานและเทวสถานตามแบบศาสนาฮินดูแล้ว ยังหมายถึงลัทธิการบูชาบุคคล อันเป็นคติความเชื่อของคนพื้นเมืองโบราณหลายเผ่า เช่น จาม ชวา บาหลี และขอม เป็นต้น เชื่อกันว่า ผู้สร้างปราสาท เมื่อสิ้นชีวิตแล้วจะเข้าไปสถิตย์รวม อยู่กับเทพเจ้า

การสร้างปราสาททั้งพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์เกิดจากความเชื่อที่ว่า เขาพระสุเมรุ คือแกนกลางของโลก อันหมายถึงองค์ปราสาท ที่เป็นจุดศูนย์กลาง ส่วนกำแพงล้อมรอบ หมายถึงอาณาเขตแห่งจักรวาล ต่อจากนั้นก็เป็น มหาสมุทรนทีสีทันดร สระน้ำที่อยู่ถัดจากปราสาท หมายถึงมหาสมุทรนั่นเอง ส่วนปราสาทแต่ละชั้น หรือแต่ละเขตก็จะมีสัตว์หิมพานต์ เช่น มีพญานาค ครุฑ ยักษ์ เทวดา ไปจนถึง พระนารายณ์ พระอิศวร

ปราสาทองค์ประธาน อันเป็นแกนแห่งเขาพระสุเมรุ เป็นที่ประดิษฐาน พระศิวลึงค์ หรือรูปเคารพที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์ รูปเคารพที่ปราสาทหินพิมาย เชื่อว่าเป็น กมรเตงคตวิมาย เป็นรูปเคารพที่สำคัญที่สุดของพุทธสถาน ชื่อนี้กล่าวไว้ในจารึก

ลักษณะทั่วไปของปราสาทหินพิมาย

ปราสาทหินพิมายตั้งอยู่ตรงศูนย์กลางของเมือง พิมาย ริมฝั่งแม่น้ำมูล เมืองนี้เป็นชุมชนขนาดใหญ่ ตั้งอยู่กลางพื้นที่ราบ ที่เรียกกันว่า ทุ่งสัมฤทธิ์ เป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญ เพราะพื้นที่อุดมสมบูรณ์ ปราสาทแห่งนี้เป็นพุทธสถานของพุทธศาสนามหาญาณ ลักษณะแผนผังของพุทธสถานเป็นรูปกากบาท ประกอบด้วยอาคารสำคัญ 3 หลัง คือ ปรางค์ใหญ่ ปรางค์พรหมทัต และปรางค์หินแดง อยู่บริเวณชั้นในของซุ้มประตู คูหาติดต่อกันสี่ทิศรูปกากบาท มุมกำแพงอันเป็นลานชั้นนอก มีสระน้ำอยู่ทั้ง 4 มุม ประตูทางเข้าด้านทิศใต้ เป็นด้านหน้าของปราสาท จะมีสะพานนาคเป็นทางเข้าสู่ตัวปราสาท

ปราสาทหินพิมายเป็นพุทธสถานมหาญาณที่สวยงามอย่างยิ่ง ปรางค์ใหญ่องค์ประธาน จะประกอบด้วย เรือนธาตุ คือ รูปอาคารสี่เหลี่ยมจตุรัสมีมุขยื่นออกทั้ง 4 ทิศ แต่ละมุขทิศ จะมีรูปสลักเป็นพระพุทธรูป ดังนี้

มุขทิศใต้ พระพุทธรูป ปางนาคปรก
มุขทิศตะวันตก พระพุทธรูป ปางเทศนาแก่พญามาร
มุขทิศเหนือ พระพุทธรูป ปางพระวัชรสัตว์ 5 พระองค์
มุขทิศตะวันออก พระพุทธรูป เป็นพระทรงเครื่อง ปางสมาธิ 10 องค์
ที่หน้าบันของมุขประสาท ทั้ง 4 ด้าน มีภาพสลักสวยงาม ดังนี้

หน้าบันมุขด้านใต้ สลักเป็นภาพ พระอิศวรฟ้อนรำ 108 ท่า เรียก ภาพ ศิวนาฏราช
หน้าบันมุขด้านตะวันตก สลักเป็นภาพ พระกฤษณะ กำลังยกภูเขาโควรรธนะ และเรื่องรามเกียรติ ตอนพระรามจองถนน
หน้าบันมุขทิศเหนือ สลักเป็นภาพ การรบในเรื่องรามเกียรติ์ และรูปพระนารายณ์ 4 กร
หน้าบันมุขด้านตะวันออก สลักเป็นภาพ รามเกียรติ์ ตอนท้าวมาลีวราชว่าความและภาพพระรามฆ่ายักษ์วิราธ
ปรางค์พรหมทัต อยู่ด้านซ้ายของปรางค์ใหญ่ มี ประติมารูปท้าวพรหมทัต และ ประติมารูปนางอรพิม

ปรางค์หินแดง เป็นศาสนสถาน สร้างด้วยหินทรายสีแดง

ส่วนประกอบอื่น ๆ ที่สำคัญของปราสาทหินพิมายที่น่าสนใจมีหลายแห่ง เช่น ประตูชัย คลังเงินหรือธรรมศาลา เสาประกอบพิธีบูชาไฟ พลับพลา กุฎีฤาษี โบสถ์เจ้าพิมาย และเมรุพรหมทัต เป็นต้น

ปราสาทหินพิมายเป็นพุทธสถานที่มีอายุเก่าแก่แห่งหนึ่ง คือ สร้างมาแล้วเกือบ 2,000 ปี เชื่อกันว่า พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 แห่งกัมพูชาเป็นผู้สร้าง (พ.ศ. 1545-1592) สร้างและบูรณะเรื่อยมาจนถึงสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 นี้ เชื่อว่ามีการสร้างปราสารรุ่นเดียวกัน คือ ปราสาทหินพนมวัน (วัดพนมวัน จ.นครราชสีมา) และปราสาทหินพนมรุ้ง (จ.บุรีรัมย์)

http://sathaput.netfirms.com/pimay_castle/pimay_castle.htm

การเดินทางสู่พิมาย





จุดเริ่มต้นจาก กรุงเทพฯ สามารถเดินทาง ได้หลายวิธีด้วยกัน คือ
1. รถประจำทางจากสถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ โดยสารรถประจำทาง สายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา มีทั้งรถโดยสารธรรมดาและ รถปรับอากาศ ตลอด24 ชั่วโมง และต่อรถโดยสารประจำทางสาย นครราชสีมา-พิมาย-ชุมพวง ซึ่งมีรถถึง 4ทุ่ม ทุกวัน

2. รถไฟจากสถานีหัวลำโพง โดยสารรถไฟสายกรุงเทพฯ-อุบลราชธานี หรือ สุรินทร์ ลงที่สถานีนครราชสีมา และต่อรถโดยสารประจำทางสาย นครราชสีมา-พิมาย-ชุมพวง
3. เครื่องบิน จากสนามบินดอนเมือง ไปลงที่สนามบิน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา และต่อรถโดยสารของสนามบินเข้าตัวเมือง และต่อรถโดยสารประจำทางสาย นครราชสีมา-พิมาย-ชุมพวง
4. รถยนต์เดินทางจากกรุงเทพฯ (เป็นวิธีที่พวกเราใช้) ตามทางหลวงหมายเลข1 (พหลโยธิน) และทางหลวงหมายเลข2 (มิตรภาพ) ระยะทาง 259 กิโลเมตร ถึงจังหวัดนครราชสีมา เดินทางต่อตามทางถนน สายมิตรภาพถึงทางแยก ตลาดแค เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 206 อีก 10 กิโลเมตร รวมแล้วระยะทางจาก กทม.ถึงพิมาย ก็ประมาณ 319 กิโลเมตร

มาถึงก็จอดรถไว้ด้านหน้าอุทยานได้เลย ซื้อตั๋วแล้วก็เข้าชมได้เลย ที่นี้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ก็นิยมมาเที่ยวกัน สถานที่ก็สะอาดเรียบร้อยดีมาก
ถ้าตั้งใจดูสักหน่อย จะเห็นว่า หินแต่ละก้อน เขาช่างจินตนาการ จริงๆ คือ ดูสวยนะ สถานที่ก็สะอาด ตาน่าชมจริงๆ ก็ถ่ายรูปกันเมื่อย อีกแหละ ตามสไตล์ คนชอบถ่าย (ถ่ายรูป เดี๋ยวจะนึกเป็นอย่างอื่นไป)
ศิลปะแบบเขมร ที่เราหาดูได้ในเมืองไทยไม่ต้องไปไกลถึงนครวัด เพราะเป็นศิลปะแบบเดียวกัน ผมเห็นเขาเอาทับหลังมากมาย มาวางไว้ให้ดูที่ พิพิธภัณฑ์บริเวณที่เราขับรถเข้ามากัน ทางเขาตัวอำเภอนะ ลองเขาไปดูจะเห็นลวดลายใกล้ๆ เพื่อจะเอามา ปะติดปะต่อเป็นเรื่องราวได้ ใช้จินตนาการดู สนุกดี

ปราสาทหินพิมาย




เดือนนี้ก็เป็นเดือนที่ทาง ททท. จัดให้เป็นเทศกาล "โรจน์เรืองเมืองศิลป์" ก็เลยอยากจะชวน หลายๆคนมาสัมผัส กับเมืองศิลป์อีกสักแห่งที่ ได้รับความนิยมไม่น้อย จากนักท่องเที่ยว นั้นก็คือ ที่อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย(ปราสาทหินพิมาย) จังหวัดนครราชสีมา หรือเมืองโคราชนี้เอง ตั้งอยู่ที่ อำเภอพิมาย ที่นี้จัดว่าเป็นปราสาทขอมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อันเป็นศูนย์กลางของ พุทธศาสนานิกายมหายาน ในพุทธศตวรรษที่ 16-19 สันนิฐานว่าเป็นต้นแบบในการสร้าง ปราสาทนครวัดที่กัมพูชา และเป็นปราสาทแห่งเดียวที่หันหน้าไปทางทิศใต้ ซึ่งเชื่อว่า เพื่อหันหน้าเข้าหาเส้นทางไปยังเมืองพระนครของเขมร สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่1 เป็นศิลปะแบบบาปวน นครวัด บายน
ความน่าสนใจของที่นี้
เป็นปราสาทขอมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ตัวปรางค์ใหญ่ ก่อด้วย ศิลาทรายสีขาวล้วน แตกต่างจากปราสาทขอมโดยทั่วไปคือ มีมณฑป อยู่ที่ เรือนธาตุทางทิศใต้และมีลายจำหลักรูปครุฑ แบกบนยอดปราสาท ทั้ง4 ทิศ
ผมเองเคยมาที่นี้หลายครั้ง ทุกครั้งมักจะได้รับความประทับใจ กลับไปมาก ยิ่งการมาครั้งแรกก็ยังจำได้ว่า สิ่งที่ทำให้ผม ประทับใจมากที่สุด ก็เป็น รูปลักษณะของปราสาทที่ สวยงาม และดูเหมือนว่าปราสาทหินจะมีเสน่ห์มาก ก็ตรงที่ หินที่ถูกสกัด มาสร้างนี้แหละ การที่จะเอาหินก้อนสี่เหลี่ยม มาวางเรียงกันเป็น รูปทรงต่างๆ มันเป็นจินตนาการ เดียวกับเมื่อ ผมยังเป็น เด็ก นั่งต่อ ตัวต่อLego ด้วยความเป็นเด็ก จินตนาการผมก็จำกัด ที่จะสร้าง ให้ก้อนสี่เหลี่ยมหลายๆก้อน ให้เป็นรูปทรงได้


ยิ่งได้มาเห็นที่นี้ ก็ยิ่งทำให้รู้สึกว่าจินตนาการมัน ยิ่งใหญ่ อยากให้เด็กๆมาดู มาเห็น ปราสาทหิน ของเรา เขาอาจจะมีจินตนาการก้าวไกลขึ้นอีกมาก เมื่อได้เห็น ว่า สิ่งที่เขาเห็นเป็นเพียงก้อนหิน ธรรมดา ที่หยิบขึ้นมาแล้วก็ใส่จินตนาการเข้าไป แล้วมันก็ออกมาเป็นความสวยงามอย่างน่าทึ่ง ผมจึงอยากแนะนำ ที่นี้ให้เป็นที่เที่ยว ที่หนึ่ง ในเทศกาล"โรจน์เรืองเมืองศิลป์" นี้
ความงามของศิลปะจะอยู่ไปอีกนาน โดยครั้งนี้ ผมเดินทางไปกับ ลุงจิ๊บ และคุณ นุบางบ่อ จริงแล้วระหว่างทางที่เรามา ที่นี้ เราได้แวะไปดูปราสาทหิน อีกแห่งหนึ่งด้วย คือ ปราสาทหินพนมวัน คงจะมีโอกาสเสนอในโอกาสต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ปราสาทหินพิมาย


ตั้งอยู่ในตัวอำเภอพิมาย ประกอบด้วยโบราณสถานสมัยขอม ที่ใหญ่โต และงดงามอลังการนั่นคือ “ปราสาทหินพิมาย” แหล่งโบราณคดีที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ บนพื้นที่ 115 ไร่ ตั้งอยู่ในตัวอำเภอพิมาย
ประกอบด้วยโบราณสถานสมัยขอมที่ใหญ่โตและงดงามอลังการนั่นคือ “ปราสาทหินพิมาย” แหล่งโบราณคดีที่ทรง
คุณค่าทางประวัติศาสตร์ บนพื้นที่ 115 ไร่ วางแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 565 เมตร ยาว 1,030 เมตร ชื่อ
“พิมาย” น่าจะมาจากคำว่า “วิมาย” หรือ “วิมายปุระ” ที่ปรากฏในจารึกภาษาเขมรบนแผ่นหินตรงกรอบประตูระเบียงคด
ด้านหน้าของปราสาทหินพิมาย และยังปรากฏชื่อในจารึกอื่นอีกหลายแห่ง อาจจะเป็นคำที่ใช้เรียกรูปเคารพหรือ
ศาสนาสถาน สิ่งที่เป็นลักษณะพิเศษของปราสาทหินพิมาย คือ ปราสาทหินแห่งนี้สร้างหันหน้าไปทางทิศใต้ต่างจาก ปราสาทหินอื่นที่มักหันหน้าไปทางทิศตะวันออก สันนิษฐานว่าเพื่อให้หันรับกับเส้นทางที่ตัดมาจากเมืองยโศธรปุระ
เมืองหลวงของอาณาจักรเขมรซึ่งเข้าสู่เมืองพิมายทางด้านทิศใต้
จากหลักฐานศิลาจารึกและศิลปะการก่อสร้างบ่งบอกว่าปราสาทหินพิมายคงจะเริ่มสร้างขึ้นในราวปลายพุทธ
ศตวรรษที่ 16 ในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 รูปแบบทางศิลปกรรมของตัวปราสาทเป็น แบบปาปวนซึ่งเป็นศิลปะ
ที่รุ่งเรืองในสมัยนั้น โดยมีลักษณะของศิลปะแบบนครวัตซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยต่อมาปนอยู่บ้าง และมาต่อเติมอีกครั้ง
ในราวต้นพุทธศตวรรษที่ 18 สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งครั้งนั้นเมืองพิมายเป็นเมืองซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ
อาณาจักรเขมร ปราสาทหินแห่งนี้สร้างเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนาลัทธิมหายานมาโดยตลอด เนื่องจากพระเจ้า
สุริยวรมันที่ 1และพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงนับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายาน

ปราสาทหินพิมายมีสิ่งก่อสร้างที่น่าสนใจดังนี้

1.สะพานนาคราช
เมื่อเข้าไปเยี่ยมชมปราสาทหินพิมายจะผ่านส่วนนี้เป็นส่วนแรก จะเห็นสะพานนาคราชและประติมากรรมรูปสิงห์ ตั้งอยู่ด้านหน้าของซุ้มประตูด้านทิศใต้ ของปรางค์ประธานซึ่งเป็นส่วนหน้าของปราสาท ทั้งนี้อาจมีจุดมุ่งหมายในการสร้าง ให้เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงการเชื่อมต่อ ระหว่างโลกมนุษย์กับโลกสวรรค์ ตามคติความเชื่อในเรื่องจักรวาลทั้งในศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ มีลักษณะเป็นรูปกากบาท ยกพื้นขึ้นสูงจากพื้นดินประมาณ 2.50 เมตร ราวสะพานโดยรอบทำเป็นลำตัวพญานาค ชูคอแผ่พังพานเป็นนาคเจ็ดเศียร มีลำตัวติดกันเป็นแผ่น หันหน้าออกไปยังเชิงบันไดทั้งสี่ทิศ

2.ซุ้มประตูและกำแพงชั้นนอกของปราสาท
ถัดจากสะพานนาคราชเข้ามาเป็นซุ้มประตูหรือที่เรียกว่า โคปุระ ของกำแพงปราสาทด้านทิศใต้ ก่อด้วยหินทราย มีผังเป็นรูปกากบาทและมีซุ้มประตูลักษณะเดียวกันนี้อีก 3 ทิศ คือ ทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก โดยมีแนวกำแพงสร้างเชื่อมต่อระหว่างกันเป็นผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยาวจากเหนือถึงใต้ 277.50 เมตร และกว้างจากตะวันออกไปตะวันตก 220 เมตร
3.พลับพลา
ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้ากำแพงชั้นนอก ด้านซ้ายมือของทางเดินเข้าสู่ตัวปราสาท เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เดิมเรียก
กันว่า "คลังเงิน" จากตำแหน่งที่ตั้งสันนิษฐานว่าคงเป็นที่พักเตรียมพระองค์สำหรับกษัตริย์ หรือเจ้านายชั้นสูงที่เสด็จ
มาประกอบพิธีกรรมทางศาสนา รวมทั้งเป็นสถานที่พักจัดขวบนสิ่งของถวายต่างๆ จากการขุดแต่งบริเวณนี้เมื่อปี พ.ศ. 2511 ได้พบโบราณวัตถุจำนวนมาก มีทั้งรูปเคารพ เครื่องประดับ และเหรียญสำริด เป็นเหตุให้เรียกกันว่า "คลังเงิน"
4.ซุ้มประตูด้านทิศตะวันตก
มีทับหลังชิ้นหนึ่งสลักเป็นรูปขบวนแห่ พระพุทธรูปนาคปรก ที่ประดิษฐานอยู่เหนือคานหาม
5.ซุ้มประตูและกำแพงชั้นใน (ระเบียงคด)
เมื่อผ่านจากซุ้มประตูและกำแพงชั้นนอกไปแล้ว ก็จะถึงซุ้มประตูและกำแพงชั้นใน ซึ่งล้อมรอบปรางค์ประธานกำแพง
ชั้นในของปราสาทแตกต่างจากกำแพงชั้นนอก คือ ก่อเป็นห้องยาวต่อเนื่องกันคล้ายเป็นทางเดินมีหลังคาคลุม อันเป็น
ลักษณะที่เรียกว่า ระเบียงคด มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความยาวจากเหนือถึงใต้ 80 เมตร และความกว้างจาก
ตะวันออกถึงตะวันตก 72 เมตร มีทางเดินกว้าง 2.35 เมตร เดินทะลุกันได้ตลอดทั้งสี่ด้าน หลังคามุงด้วยแผ่นหิน
6.ซุ้มประตูและกำแพงแก้ว
ซุ้มประตูหรือโคปุระ ตั้งอยู่กึ่งกลางของแนวกำแพงแก้ว อยุ่ในแนวตรงกันหมดทั้ง 4 ด้าน คือ ทิศเหนือ-ใต้ อยู่ตรงกึ่ง
กลางของกำแพง ทิศตะวันออก-ตะวันตกค่อนไปทางเหนือเล็กน้อย ผังโดยรอบของซุ้มประตูมีลักษณะเป็นรูปกากบาท
จากกำแพงแก้วเข้ามาด้านในเชื่อกันว่าเป็นดินแดนของโลกสวรรค์ อันเป็นที่อยู่ของเทพเจ้า
7.ปรางค์ประธาน
ตั้งอยู่กลางลานภายในระเบียงคด เป็นศูนย์กลางของศาสนสถานแห่งนี้ ปรางค์ประธานสร้างด้วยหินทรายสีขาวทั้งองค์
ต่างจากซุ้มประตู(โคปุระ)และกำแพงชั้นในและชั้นนอกที่สร้างด้วยหินทรายสีแดงเป็นหลัก มีหินทรายสีขาวเป็นส่วน
ประกอบบางส่วน เนื่องจากหินทรายสีขาวมีคุณสมบัติคงทนดีกว่าหินทรายสีแดง องค์ปรางค์สูง 28 เมตร ฐานสี่เหลี่ยม
จัตุรัสย่อมุมไม้สิบสองยาวด้านละ 22 เมตร ด้านหน้ามีมณฑปเชื่อมต่อกับองค์ปรางค์โดยมีฉนวนกั้น องค์ปรางค์และ
มณฑปตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ส่วนด้านอื่น ๆ อีกสามด้านมีมุขยื่นออกไปมีบันไดและ ประตูขึ้นลงสู่องค์ปรางค์ทั้งสี่ด้าน

8.ปรางค์พรหมทัต
ตั้งอยู่ด้านหน้าปรางค์ประธานเยื้องไปทางซ้ายสร้างด้วยศิลาแลง มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุม กว้าง 14.50 สูงประมาณ 15 เมตร สร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ภายในปรางค์พบประติมากรรมหินทรายจำหลักเป็นรูปประติมากรรมฉลอง
องค์ของพระเจ้าชัยวรมันที่7 (จำลอง) ที่เรียกว่า ปรางค์พรหมทัต ก็เพื่อให้เข้ากับตำนานพื้นเมือง เรื่องท้าวพรหมทัต
พระเจ้าแผ่นดิน ปัจจุบันกรมศิลปากรได้เก็บรักษาองค์จริงไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย

9.ปรางค์หินแดง
ตั้งอยู่ทางด้านขวา สร้างด้วยหินทรายสีแดง กว้าง 11.40 เมตร สูง 15 เมตร มีมุขยื่นออกไปเป็นทางเข้าทั้ง 4 ทิศ เหนือกรอบประตูทางเข้าด้านทิศเหนือมีทับหลังสลักเป็นภาพเล่าเรื่องในมหากาพย์ภารตะตอนกรรณะล่าหมูป่า

10.หอพราหมณ์
เป็นอาคารก่อด้วยหินทรายและศิลาแลง ตั้งอยู่บนฐานเดียวกันกับบปรางค์หินแดง ในปี พ.ศ. 2493 ได้ค้นพบศิวลึงค์ สลักด้วยหินทรายจำนวน 7 ชิ้นอยู่ภายในหอพราหมณ์ เชื่อกันว่าอาคารหลังนี้คงเป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนา
พราหมณ์ แต่จากรูปแบบและตำแหน่งที่ตั้งเดิมคงเป็นที่ตั้งของบรรณาลัยมากกว่

11.บรรณาลัย
ตั้งอยู่บริเวณลานชั้นนอก ระหว่างกำแพงแก้วและซุ้มประตูระเบียงคด ด้านทิศตะวันตกเป็นอาคาร 2 หลังขนาดเดียวกัน ผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายกพื้นสูง ก่อด้วยหินทรายกั้นเป็นห้องยาวตลอดแนว พบร่องรอยหลุมเสารูปสี่เหลี่ยม
จตุรัส เดิมคงเป็นหลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง เชื่อกันว่าบรรณาลัยคือสถานที่เก็บรักษาคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนา
แหลงข้อมูล
http://www.paiduaykan.com/76_province/Northeast/nakhonratchasima/Pimai.html


เป็นปราสาทหินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย มีรูปแบบศิลปกรรมขอมแบบบาปวนและนครวัดที่มีความงดงาม เชื่อว่าเป็นต้นแบบ ในการสร้างปราสาทนครวัดในเขมร ปราสาทหินแห่งนี้ตั้งอยู่กลางเมืองพิมายซึ่งเป็นเมืองโบราณ




- เปิดเวลา 07.30-18.00 น.
- ค่าเข้าชม คนไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 40 บาท
- โทร. 0-4447-1568

http://www.sadoodta.com/content