วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ลักษณะทั่วไปของปราสาทหินพิมาย



ลักษณะทั่วไปของปราสาทหินพิมาย

ปราสาทหินพิมายตั้งอยู่ตรงศูนย์กลางของเมือง พิมาย ริมฝั่งแม่น้ำมูล เมืองนี้เป็นชุมชนขนาดใหญ่ ตั้งอยู่กลางพื้นที่ราบ ที่เรียกกันว่า ทุ่งสัมฤทธิ์ เป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญ เพราะพื้นที่อุดมสมบูรณ์ ปราสาทแห่งนี้เป็นพุทธสถานของพุทธศาสนามหาญาณ ลักษณะแผนผังของพุทธสถานเป็นรูปกากบาท ประกอบด้วยอาคารสำคัญ 3 หลัง คือ ปรางค์ใหญ่ ปรางค์พรหมทัต และปรางค์หินแดง อยู่บริเวณชั้นในของซุ้มประตู คูหาติดต่อกันสี่ทิศรูปกากบาท มุมกำแพงอันเป็นลานชั้นนอก มีสระน้ำอยู่ทั้ง 4 มุม ประตูทางเข้าด้านทิศใต้ เป็นด้านหน้าของปราสาท จะมีสะพานนาคเป็นทางเข้าสู่ตัวปราสาท

ปราสาทหินพิมายเป็นพุทธสถานมหาญาณที่สวยงามอย่างยิ่ง ปรางค์ใหญ่องค์ประธาน จะประกอบด้วย เรือนธาตุ คือ รูปอาคารสี่เหลี่ยมจตุรัสมีมุขยื่นออกทั้ง 4 ทิศ แต่ละมุขทิศ จะมีรูปสลักเป็นพระพุทธรูป ดังนี้

มุขทิศใต้ พระพุทธรูป ปางนาคปรก
มุขทิศตะวันตก พระพุทธรูป ปางเทศนาแก่พญามาร
มุขทิศเหนือ พระพุทธรูป ปางพระวัชรสัตว์ 5 พระองค์
มุขทิศตะวันออก พระพุทธรูป เป็นพระทรงเครื่อง ปางสมาธิ 10 องค์
ที่หน้าบันของมุขประสาท ทั้ง 4 ด้าน มีภาพสลักสวยงาม ดังนี้

หน้าบันมุขด้านใต้ สลักเป็นภาพ พระอิศวรฟ้อนรำ 108 ท่า เรียก ภาพ ศิวนาฏราช
หน้าบันมุขด้านตะวันตก สลักเป็นภาพ พระกฤษณะ กำลังยกภูเขาโควรรธนะ และเรื่องรามเกียรติ ตอนพระรามจองถนน
หน้าบันมุขทิศเหนือ สลักเป็นภาพ การรบในเรื่องรามเกียรติ์ และรูปพระนารายณ์ 4 กร
หน้าบันมุขด้านตะวันออก สลักเป็นภาพ รามเกียรติ์ ตอนท้าวมาลีวราชว่าความและภาพพระรามฆ่ายักษ์วิราธ
ปรางค์พรหมทัต อยู่ด้านซ้ายของปรางค์ใหญ่ มี ประติมารูปท้าวพรหมทัต และ ประติมารูปนางอรพิม

ปรางค์หินแดง เป็นศาสนสถาน สร้างด้วยหินทรายสีแดง

ส่วนประกอบอื่น ๆ ที่สำคัญของปราสาทหินพิมายที่น่าสนใจมีหลายแห่ง เช่น ประตูชัย คลังเงินหรือธรรมศาลา เสาประกอบพิธีบูชาไฟ พลับพลา กุฎีฤาษี โบสถ์เจ้าพิมาย และเมรุพรหมทัต เป็นต้น

ปราสาทหินพิมายเป็นพุทธสถานที่มีอายุเก่าแก่แห่งหนึ่ง คือ สร้างมาแล้วเกือบ 2,000 ปี เชื่อกันว่า พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 แห่งกัมพูชาเป็นผู้สร้าง (พ.ศ. 1545-1592) สร้างและบูรณะเรื่อยมาจนถึงสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 นี้ เชื่อว่ามีการสร้างปราสารรุ่นเดียวกัน คือ ปราสาทหินพนมวัน (วัดพนมวัน จ.นครราชสีมา) และปราสาทหินพนมรุ้ง (จ.บุรีรัมย์)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น