วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ความเชื่อและนิทานท้องถิ่นเกี่ยวกับปราสาทหินพิมาย


ความเชื่อและนิทานท้องถิ่นเกี่ยวกับปราสาทหินพิมาย

ชาวเมืองโคราชซึ่งอยู่ ณ บริเวณเมืองพิมายเล่าสืบกันมาเกี่ยวกับนิทานชาดก อันเป็นนิทานพื้นบ้าน ตามความเชื่อทางพุทธศาสนา ว่า ท้าวปาจิตต์ คือ พระโพธิสัตว์ จุติมาเกิดเป็นโอรสเจ้าเมืองพรหมพันธ์นคร ได้เดินทางไปหาคู่ครองถึงเมืองพาราณสี พบหญิงหม้ายกำลังตั้งท้อง มีแสงอาทิตย์ทรงกลดเป็นเงาบังนางไว้ก็รู้ว่า นางเป็นแม่ของคู่ครองตน คือ นางอรพิม ท้าวปาจิตต์ จึงอาสาทำงานช่วยจนนางอรพิมโตเป็นสาว อายุ 16 ปี จึงได้นางเป็นภรรยา ท้าวปาจิตต์ขอลาแม่ยายไปเยี่ยมบิดา นางอรพิมจึงถูก พรหมทัตกุมารแห่งกรุงพาราณสีฉุดไปขังไว้ในปราสาท ท้าวปาจิตต์จึงตามมาฆ่าพรหมทัตกุมาร พานางหลบหนีไปพักใต้ต้นไทรกลางป่า พรานมาเห็นนางอรพิมสวยมากจึงลอบฆ่าท้าวปาจิตต์และฉุดนางขึ้นหลังควายไป นางอรพิมออกอุบายเอาดาบฟันคอ พรานตายแล้วกลับมาคร่ำครวญถึงท้าวปาจิตต์ พระอินทร์จึงมาชุบชีวิตท้าวปาจิตต์ แล้วให้แท่งยาวิเศษแก่นางอรพิม พอเดินทางต่อไป เณรเห็นนางรูปสวยจึงหลอกให้พรากจากสามีอีก นางเที่ยวหาสามีจนถึงจัมปานคร อธิฐานขอให้เป็นชายและชื่อปาจิตต์ นางช่วยชุบชีวิตธิดาเจ้าเมืองจัมปานคร เจ้าเมืองยกธิดาและยกเมืองให้ ปาจิตต์ขอออกบวช ให้สร้างศาลาและวาดรูปเป็นเรื่องราวที่นางพลัดพรากจากสามี สั่งให้คนแอบสังเกตคนที่มาพัก หากใครดูรูปแล้วร้องไห้ ให้รีบไปบอก ในที่สุดเมื่อท้าวปาจิตต์มาที่ศาลาดูรูปแล้วร้องไห้ นางและสามีจึงได้พบกัน และกลับไปครองเมืองพรหมทัต

ส่วนนิทานพื้นบ้านอีกแนวหนึ่งเกี่ยวกับประวัติเมือง พิมาย เล่าว่า กษัตรย์เมืองนครธมแห่งเขมร มีโอรสชื่อ เจ้าชายปาจิตต์ เดินทางหาคู่ผ่านมาตามลำน้ำมูล พบนางบัวมีเงาบัง (พระอาทิตย์ทรงกลด) ก็อยู่อาสาทำงานจนคลอดนางอรพิม โตเป็นสาว เจ้าชายจึงกลับนครธมนำขันหมากมาสู่ขอ ท้าวพรหมทัตเมืองวิมายบุรีได้ข่าวนางอรพิมสวย จึงบังคับให้นางเป็นภรรยา พอเข้าใกล้นางก็ตัวร้อนเป็นไฟ นางขอผัดผ่อนไป 7 วัน เจ้าชายปาจิตต์มาพอดีแต่เข้าใจผิด จึงเทขันหมากทิ้งลงน้ำ ตามนางไปเมืองวิมายบุรี อ้างว่าเป็นพี่ชายนาง แล้วลอบฆ่าท้าวพรหมทัต พานางกลับนครธมด้านทิศใต้ น้ำกำลังไหลเชี่ยว เณรออกอุบายให้ทั้งสองพลัดกัน นางออกอุบายหนีเณร มาพบพราน ออกอุบายฆ่าพราน ในที่สุดก็ได้พบกัน แล้วกลับมาทำพิธีเผาศพท้าวพรหมทัต เพื่อให้ชาวเมืองวิมายบุรีหายโกรธ แล้วจึงกลับนครธม

นิทานเรื่องนี้มีชื่อต่าง ๆ ที่เป็นสถานที่เกี่ยวข้อง เช่น

หมู่บ้านสำเร็จ หรือ หมู่บ้านสัมฤทธิ์ คือหมู่บ้านที่นางบัวอาศัยอยู่
ถนนนางคลาน คือ ถนนที่นางอรพิมหัดคลาน
บ้านนางเดิน คือ บ้านที่นางอรพิมหัดเดิน
ลำปลายมาศ คือ ลำน้ำที่เจ้าชายปาจิตต์เทขันหมากทิ้ง
บ้านกงรถ คือ บ้านที่เจ้าชายปาจิตต์ทิ้งรถ
เมืองพิมาย คือ เมือง พี่มา คือตอนที่นางอรพิม เรียกท้าวปาจิตต์ตอนกลับมา
ท่านางสระผม คือ ท่าน้ำที่นางอรพิมเคยอาบน้ำ สระผม ท่าน้ำนี้อยู่นอกเขตปราสาท
เมรุพรหมทัต คือ ที่ประกอบพิธีถวายพระเพลิงท้าวพรหมทัต

http://sathaput.netfirms.com/pimay_castle/pimay_castle.htm

ลักษณะทั่วไปของปราสาทหินพิมาย



ลักษณะทั่วไปของปราสาทหินพิมาย

ปราสาทหินพิมายตั้งอยู่ตรงศูนย์กลางของเมือง พิมาย ริมฝั่งแม่น้ำมูล เมืองนี้เป็นชุมชนขนาดใหญ่ ตั้งอยู่กลางพื้นที่ราบ ที่เรียกกันว่า ทุ่งสัมฤทธิ์ เป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญ เพราะพื้นที่อุดมสมบูรณ์ ปราสาทแห่งนี้เป็นพุทธสถานของพุทธศาสนามหาญาณ ลักษณะแผนผังของพุทธสถานเป็นรูปกากบาท ประกอบด้วยอาคารสำคัญ 3 หลัง คือ ปรางค์ใหญ่ ปรางค์พรหมทัต และปรางค์หินแดง อยู่บริเวณชั้นในของซุ้มประตู คูหาติดต่อกันสี่ทิศรูปกากบาท มุมกำแพงอันเป็นลานชั้นนอก มีสระน้ำอยู่ทั้ง 4 มุม ประตูทางเข้าด้านทิศใต้ เป็นด้านหน้าของปราสาท จะมีสะพานนาคเป็นทางเข้าสู่ตัวปราสาท

ปราสาทหินพิมายเป็นพุทธสถานมหาญาณที่สวยงามอย่างยิ่ง ปรางค์ใหญ่องค์ประธาน จะประกอบด้วย เรือนธาตุ คือ รูปอาคารสี่เหลี่ยมจตุรัสมีมุขยื่นออกทั้ง 4 ทิศ แต่ละมุขทิศ จะมีรูปสลักเป็นพระพุทธรูป ดังนี้

มุขทิศใต้ พระพุทธรูป ปางนาคปรก
มุขทิศตะวันตก พระพุทธรูป ปางเทศนาแก่พญามาร
มุขทิศเหนือ พระพุทธรูป ปางพระวัชรสัตว์ 5 พระองค์
มุขทิศตะวันออก พระพุทธรูป เป็นพระทรงเครื่อง ปางสมาธิ 10 องค์
ที่หน้าบันของมุขประสาท ทั้ง 4 ด้าน มีภาพสลักสวยงาม ดังนี้

หน้าบันมุขด้านใต้ สลักเป็นภาพ พระอิศวรฟ้อนรำ 108 ท่า เรียก ภาพ ศิวนาฏราช
หน้าบันมุขด้านตะวันตก สลักเป็นภาพ พระกฤษณะ กำลังยกภูเขาโควรรธนะ และเรื่องรามเกียรติ ตอนพระรามจองถนน
หน้าบันมุขทิศเหนือ สลักเป็นภาพ การรบในเรื่องรามเกียรติ์ และรูปพระนารายณ์ 4 กร
หน้าบันมุขด้านตะวันออก สลักเป็นภาพ รามเกียรติ์ ตอนท้าวมาลีวราชว่าความและภาพพระรามฆ่ายักษ์วิราธ
ปรางค์พรหมทัต อยู่ด้านซ้ายของปรางค์ใหญ่ มี ประติมารูปท้าวพรหมทัต และ ประติมารูปนางอรพิม

ปรางค์หินแดง เป็นศาสนสถาน สร้างด้วยหินทรายสีแดง

ส่วนประกอบอื่น ๆ ที่สำคัญของปราสาทหินพิมายที่น่าสนใจมีหลายแห่ง เช่น ประตูชัย คลังเงินหรือธรรมศาลา เสาประกอบพิธีบูชาไฟ พลับพลา กุฎีฤาษี โบสถ์เจ้าพิมาย และเมรุพรหมทัต เป็นต้น

ปราสาทหินพิมายเป็นพุทธสถานที่มีอายุเก่าแก่แห่งหนึ่ง คือ สร้างมาแล้วเกือบ 2,000 ปี เชื่อกันว่า พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 แห่งกัมพูชาเป็นผู้สร้าง (พ.ศ. 1545-1592) สร้างและบูรณะเรื่อยมาจนถึงสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 นี้ เชื่อว่ามีการสร้างปราสารรุ่นเดียวกัน คือ ปราสาทหินพนมวัน (วัดพนมวัน จ.นครราชสีมา) และปราสาทหินพนมรุ้ง (จ.บุรีรัมย์)

ปราสาทหินพิมาย


ปราสาทหินพิมาย เป็นศาสนสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคอีสาน ปราสาทแห่งนี้ตั้งอยู่ใจกลางเมืองพิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา อันเป็นจังหวัดใหญ่ เป็นประตูเข้าสู่ดินแดนอีสาน

การสร้างปราสาทหินพิมายนอกจากจะสร้างเป็นพุทธสถานและเทวสถานตามแบบศาสนาฮินดูแล้ว ยังหมายถึงลัทธิการบูชาบุคคล อันเป็นคติความเชื่อของคนพื้นเมืองโบราณหลายเผ่า เช่น จาม ชวา บาหลี และขอม เป็นต้น เชื่อกันว่า ผู้สร้างปราสาท เมื่อสิ้นชีวิตแล้วจะเข้าไปสถิตย์รวม อยู่กับเทพเจ้า

การสร้างปราสาททั้งพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์เกิดจากความเชื่อที่ว่า เขาพระสุเมรุ คือแกนกลางของโลก อันหมายถึงองค์ปราสาท ที่เป็นจุดศูนย์กลาง ส่วนกำแพงล้อมรอบ หมายถึงอาณาเขตแห่งจักรวาล ต่อจากนั้นก็เป็น มหาสมุทรนทีสีทันดร สระน้ำที่อยู่ถัดจากปราสาท หมายถึงมหาสมุทรนั่นเอง ส่วนปราสาทแต่ละชั้น หรือแต่ละเขตก็จะมีสัตว์หิมพานต์ เช่น มีพญานาค ครุฑ ยักษ์ เทวดา ไปจนถึง พระนารายณ์ พระอิศวร

ปราสาทองค์ประธาน อันเป็นแกนแห่งเขาพระสุเมรุ เป็นที่ประดิษฐาน พระศิวลึงค์ หรือรูปเคารพที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์ รูปเคารพที่ปราสาทหินพิมาย เชื่อว่าเป็น กมรเตงคตวิมาย เป็นรูปเคารพที่สำคัญที่สุดของพุทธสถาน ชื่อนี้กล่าวไว้ในจารึก

ลักษณะทั่วไปของปราสาทหินพิมาย

ปราสาทหินพิมายตั้งอยู่ตรงศูนย์กลางของเมือง พิมาย ริมฝั่งแม่น้ำมูล เมืองนี้เป็นชุมชนขนาดใหญ่ ตั้งอยู่กลางพื้นที่ราบ ที่เรียกกันว่า ทุ่งสัมฤทธิ์ เป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญ เพราะพื้นที่อุดมสมบูรณ์ ปราสาทแห่งนี้เป็นพุทธสถานของพุทธศาสนามหาญาณ ลักษณะแผนผังของพุทธสถานเป็นรูปกากบาท ประกอบด้วยอาคารสำคัญ 3 หลัง คือ ปรางค์ใหญ่ ปรางค์พรหมทัต และปรางค์หินแดง อยู่บริเวณชั้นในของซุ้มประตู คูหาติดต่อกันสี่ทิศรูปกากบาท มุมกำแพงอันเป็นลานชั้นนอก มีสระน้ำอยู่ทั้ง 4 มุม ประตูทางเข้าด้านทิศใต้ เป็นด้านหน้าของปราสาท จะมีสะพานนาคเป็นทางเข้าสู่ตัวปราสาท

ปราสาทหินพิมายเป็นพุทธสถานมหาญาณที่สวยงามอย่างยิ่ง ปรางค์ใหญ่องค์ประธาน จะประกอบด้วย เรือนธาตุ คือ รูปอาคารสี่เหลี่ยมจตุรัสมีมุขยื่นออกทั้ง 4 ทิศ แต่ละมุขทิศ จะมีรูปสลักเป็นพระพุทธรูป ดังนี้

มุขทิศใต้ พระพุทธรูป ปางนาคปรก
มุขทิศตะวันตก พระพุทธรูป ปางเทศนาแก่พญามาร
มุขทิศเหนือ พระพุทธรูป ปางพระวัชรสัตว์ 5 พระองค์
มุขทิศตะวันออก พระพุทธรูป เป็นพระทรงเครื่อง ปางสมาธิ 10 องค์
ที่หน้าบันของมุขประสาท ทั้ง 4 ด้าน มีภาพสลักสวยงาม ดังนี้

หน้าบันมุขด้านใต้ สลักเป็นภาพ พระอิศวรฟ้อนรำ 108 ท่า เรียก ภาพ ศิวนาฏราช
หน้าบันมุขด้านตะวันตก สลักเป็นภาพ พระกฤษณะ กำลังยกภูเขาโควรรธนะ และเรื่องรามเกียรติ ตอนพระรามจองถนน
หน้าบันมุขทิศเหนือ สลักเป็นภาพ การรบในเรื่องรามเกียรติ์ และรูปพระนารายณ์ 4 กร
หน้าบันมุขด้านตะวันออก สลักเป็นภาพ รามเกียรติ์ ตอนท้าวมาลีวราชว่าความและภาพพระรามฆ่ายักษ์วิราธ
ปรางค์พรหมทัต อยู่ด้านซ้ายของปรางค์ใหญ่ มี ประติมารูปท้าวพรหมทัต และ ประติมารูปนางอรพิม

ปรางค์หินแดง เป็นศาสนสถาน สร้างด้วยหินทรายสีแดง

ส่วนประกอบอื่น ๆ ที่สำคัญของปราสาทหินพิมายที่น่าสนใจมีหลายแห่ง เช่น ประตูชัย คลังเงินหรือธรรมศาลา เสาประกอบพิธีบูชาไฟ พลับพลา กุฎีฤาษี โบสถ์เจ้าพิมาย และเมรุพรหมทัต เป็นต้น

ปราสาทหินพิมายเป็นพุทธสถานที่มีอายุเก่าแก่แห่งหนึ่ง คือ สร้างมาแล้วเกือบ 2,000 ปี เชื่อกันว่า พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 แห่งกัมพูชาเป็นผู้สร้าง (พ.ศ. 1545-1592) สร้างและบูรณะเรื่อยมาจนถึงสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 นี้ เชื่อว่ามีการสร้างปราสารรุ่นเดียวกัน คือ ปราสาทหินพนมวัน (วัดพนมวัน จ.นครราชสีมา) และปราสาทหินพนมรุ้ง (จ.บุรีรัมย์)

http://sathaput.netfirms.com/pimay_castle/pimay_castle.htm

การเดินทางสู่พิมาย





จุดเริ่มต้นจาก กรุงเทพฯ สามารถเดินทาง ได้หลายวิธีด้วยกัน คือ
1. รถประจำทางจากสถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ โดยสารรถประจำทาง สายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา มีทั้งรถโดยสารธรรมดาและ รถปรับอากาศ ตลอด24 ชั่วโมง และต่อรถโดยสารประจำทางสาย นครราชสีมา-พิมาย-ชุมพวง ซึ่งมีรถถึง 4ทุ่ม ทุกวัน

2. รถไฟจากสถานีหัวลำโพง โดยสารรถไฟสายกรุงเทพฯ-อุบลราชธานี หรือ สุรินทร์ ลงที่สถานีนครราชสีมา และต่อรถโดยสารประจำทางสาย นครราชสีมา-พิมาย-ชุมพวง
3. เครื่องบิน จากสนามบินดอนเมือง ไปลงที่สนามบิน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา และต่อรถโดยสารของสนามบินเข้าตัวเมือง และต่อรถโดยสารประจำทางสาย นครราชสีมา-พิมาย-ชุมพวง
4. รถยนต์เดินทางจากกรุงเทพฯ (เป็นวิธีที่พวกเราใช้) ตามทางหลวงหมายเลข1 (พหลโยธิน) และทางหลวงหมายเลข2 (มิตรภาพ) ระยะทาง 259 กิโลเมตร ถึงจังหวัดนครราชสีมา เดินทางต่อตามทางถนน สายมิตรภาพถึงทางแยก ตลาดแค เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 206 อีก 10 กิโลเมตร รวมแล้วระยะทางจาก กทม.ถึงพิมาย ก็ประมาณ 319 กิโลเมตร

มาถึงก็จอดรถไว้ด้านหน้าอุทยานได้เลย ซื้อตั๋วแล้วก็เข้าชมได้เลย ที่นี้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ก็นิยมมาเที่ยวกัน สถานที่ก็สะอาดเรียบร้อยดีมาก
ถ้าตั้งใจดูสักหน่อย จะเห็นว่า หินแต่ละก้อน เขาช่างจินตนาการ จริงๆ คือ ดูสวยนะ สถานที่ก็สะอาด ตาน่าชมจริงๆ ก็ถ่ายรูปกันเมื่อย อีกแหละ ตามสไตล์ คนชอบถ่าย (ถ่ายรูป เดี๋ยวจะนึกเป็นอย่างอื่นไป)
ศิลปะแบบเขมร ที่เราหาดูได้ในเมืองไทยไม่ต้องไปไกลถึงนครวัด เพราะเป็นศิลปะแบบเดียวกัน ผมเห็นเขาเอาทับหลังมากมาย มาวางไว้ให้ดูที่ พิพิธภัณฑ์บริเวณที่เราขับรถเข้ามากัน ทางเขาตัวอำเภอนะ ลองเขาไปดูจะเห็นลวดลายใกล้ๆ เพื่อจะเอามา ปะติดปะต่อเป็นเรื่องราวได้ ใช้จินตนาการดู สนุกดี

ปราสาทหินพิมาย




เดือนนี้ก็เป็นเดือนที่ทาง ททท. จัดให้เป็นเทศกาล "โรจน์เรืองเมืองศิลป์" ก็เลยอยากจะชวน หลายๆคนมาสัมผัส กับเมืองศิลป์อีกสักแห่งที่ ได้รับความนิยมไม่น้อย จากนักท่องเที่ยว นั้นก็คือ ที่อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย(ปราสาทหินพิมาย) จังหวัดนครราชสีมา หรือเมืองโคราชนี้เอง ตั้งอยู่ที่ อำเภอพิมาย ที่นี้จัดว่าเป็นปราสาทขอมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อันเป็นศูนย์กลางของ พุทธศาสนานิกายมหายาน ในพุทธศตวรรษที่ 16-19 สันนิฐานว่าเป็นต้นแบบในการสร้าง ปราสาทนครวัดที่กัมพูชา และเป็นปราสาทแห่งเดียวที่หันหน้าไปทางทิศใต้ ซึ่งเชื่อว่า เพื่อหันหน้าเข้าหาเส้นทางไปยังเมืองพระนครของเขมร สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่1 เป็นศิลปะแบบบาปวน นครวัด บายน
ความน่าสนใจของที่นี้
เป็นปราสาทขอมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ตัวปรางค์ใหญ่ ก่อด้วย ศิลาทรายสีขาวล้วน แตกต่างจากปราสาทขอมโดยทั่วไปคือ มีมณฑป อยู่ที่ เรือนธาตุทางทิศใต้และมีลายจำหลักรูปครุฑ แบกบนยอดปราสาท ทั้ง4 ทิศ
ผมเองเคยมาที่นี้หลายครั้ง ทุกครั้งมักจะได้รับความประทับใจ กลับไปมาก ยิ่งการมาครั้งแรกก็ยังจำได้ว่า สิ่งที่ทำให้ผม ประทับใจมากที่สุด ก็เป็น รูปลักษณะของปราสาทที่ สวยงาม และดูเหมือนว่าปราสาทหินจะมีเสน่ห์มาก ก็ตรงที่ หินที่ถูกสกัด มาสร้างนี้แหละ การที่จะเอาหินก้อนสี่เหลี่ยม มาวางเรียงกันเป็น รูปทรงต่างๆ มันเป็นจินตนาการ เดียวกับเมื่อ ผมยังเป็น เด็ก นั่งต่อ ตัวต่อLego ด้วยความเป็นเด็ก จินตนาการผมก็จำกัด ที่จะสร้าง ให้ก้อนสี่เหลี่ยมหลายๆก้อน ให้เป็นรูปทรงได้


ยิ่งได้มาเห็นที่นี้ ก็ยิ่งทำให้รู้สึกว่าจินตนาการมัน ยิ่งใหญ่ อยากให้เด็กๆมาดู มาเห็น ปราสาทหิน ของเรา เขาอาจจะมีจินตนาการก้าวไกลขึ้นอีกมาก เมื่อได้เห็น ว่า สิ่งที่เขาเห็นเป็นเพียงก้อนหิน ธรรมดา ที่หยิบขึ้นมาแล้วก็ใส่จินตนาการเข้าไป แล้วมันก็ออกมาเป็นความสวยงามอย่างน่าทึ่ง ผมจึงอยากแนะนำ ที่นี้ให้เป็นที่เที่ยว ที่หนึ่ง ในเทศกาล"โรจน์เรืองเมืองศิลป์" นี้
ความงามของศิลปะจะอยู่ไปอีกนาน โดยครั้งนี้ ผมเดินทางไปกับ ลุงจิ๊บ และคุณ นุบางบ่อ จริงแล้วระหว่างทางที่เรามา ที่นี้ เราได้แวะไปดูปราสาทหิน อีกแห่งหนึ่งด้วย คือ ปราสาทหินพนมวัน คงจะมีโอกาสเสนอในโอกาสต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ปราสาทหินพิมาย


ตั้งอยู่ในตัวอำเภอพิมาย ประกอบด้วยโบราณสถานสมัยขอม ที่ใหญ่โต และงดงามอลังการนั่นคือ “ปราสาทหินพิมาย” แหล่งโบราณคดีที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ บนพื้นที่ 115 ไร่ ตั้งอยู่ในตัวอำเภอพิมาย
ประกอบด้วยโบราณสถานสมัยขอมที่ใหญ่โตและงดงามอลังการนั่นคือ “ปราสาทหินพิมาย” แหล่งโบราณคดีที่ทรง
คุณค่าทางประวัติศาสตร์ บนพื้นที่ 115 ไร่ วางแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 565 เมตร ยาว 1,030 เมตร ชื่อ
“พิมาย” น่าจะมาจากคำว่า “วิมาย” หรือ “วิมายปุระ” ที่ปรากฏในจารึกภาษาเขมรบนแผ่นหินตรงกรอบประตูระเบียงคด
ด้านหน้าของปราสาทหินพิมาย และยังปรากฏชื่อในจารึกอื่นอีกหลายแห่ง อาจจะเป็นคำที่ใช้เรียกรูปเคารพหรือ
ศาสนาสถาน สิ่งที่เป็นลักษณะพิเศษของปราสาทหินพิมาย คือ ปราสาทหินแห่งนี้สร้างหันหน้าไปทางทิศใต้ต่างจาก ปราสาทหินอื่นที่มักหันหน้าไปทางทิศตะวันออก สันนิษฐานว่าเพื่อให้หันรับกับเส้นทางที่ตัดมาจากเมืองยโศธรปุระ
เมืองหลวงของอาณาจักรเขมรซึ่งเข้าสู่เมืองพิมายทางด้านทิศใต้
จากหลักฐานศิลาจารึกและศิลปะการก่อสร้างบ่งบอกว่าปราสาทหินพิมายคงจะเริ่มสร้างขึ้นในราวปลายพุทธ
ศตวรรษที่ 16 ในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 รูปแบบทางศิลปกรรมของตัวปราสาทเป็น แบบปาปวนซึ่งเป็นศิลปะ
ที่รุ่งเรืองในสมัยนั้น โดยมีลักษณะของศิลปะแบบนครวัตซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยต่อมาปนอยู่บ้าง และมาต่อเติมอีกครั้ง
ในราวต้นพุทธศตวรรษที่ 18 สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งครั้งนั้นเมืองพิมายเป็นเมืองซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ
อาณาจักรเขมร ปราสาทหินแห่งนี้สร้างเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนาลัทธิมหายานมาโดยตลอด เนื่องจากพระเจ้า
สุริยวรมันที่ 1และพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงนับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายาน

ปราสาทหินพิมายมีสิ่งก่อสร้างที่น่าสนใจดังนี้

1.สะพานนาคราช
เมื่อเข้าไปเยี่ยมชมปราสาทหินพิมายจะผ่านส่วนนี้เป็นส่วนแรก จะเห็นสะพานนาคราชและประติมากรรมรูปสิงห์ ตั้งอยู่ด้านหน้าของซุ้มประตูด้านทิศใต้ ของปรางค์ประธานซึ่งเป็นส่วนหน้าของปราสาท ทั้งนี้อาจมีจุดมุ่งหมายในการสร้าง ให้เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงการเชื่อมต่อ ระหว่างโลกมนุษย์กับโลกสวรรค์ ตามคติความเชื่อในเรื่องจักรวาลทั้งในศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ มีลักษณะเป็นรูปกากบาท ยกพื้นขึ้นสูงจากพื้นดินประมาณ 2.50 เมตร ราวสะพานโดยรอบทำเป็นลำตัวพญานาค ชูคอแผ่พังพานเป็นนาคเจ็ดเศียร มีลำตัวติดกันเป็นแผ่น หันหน้าออกไปยังเชิงบันไดทั้งสี่ทิศ

2.ซุ้มประตูและกำแพงชั้นนอกของปราสาท
ถัดจากสะพานนาคราชเข้ามาเป็นซุ้มประตูหรือที่เรียกว่า โคปุระ ของกำแพงปราสาทด้านทิศใต้ ก่อด้วยหินทราย มีผังเป็นรูปกากบาทและมีซุ้มประตูลักษณะเดียวกันนี้อีก 3 ทิศ คือ ทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก โดยมีแนวกำแพงสร้างเชื่อมต่อระหว่างกันเป็นผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยาวจากเหนือถึงใต้ 277.50 เมตร และกว้างจากตะวันออกไปตะวันตก 220 เมตร
3.พลับพลา
ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้ากำแพงชั้นนอก ด้านซ้ายมือของทางเดินเข้าสู่ตัวปราสาท เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เดิมเรียก
กันว่า "คลังเงิน" จากตำแหน่งที่ตั้งสันนิษฐานว่าคงเป็นที่พักเตรียมพระองค์สำหรับกษัตริย์ หรือเจ้านายชั้นสูงที่เสด็จ
มาประกอบพิธีกรรมทางศาสนา รวมทั้งเป็นสถานที่พักจัดขวบนสิ่งของถวายต่างๆ จากการขุดแต่งบริเวณนี้เมื่อปี พ.ศ. 2511 ได้พบโบราณวัตถุจำนวนมาก มีทั้งรูปเคารพ เครื่องประดับ และเหรียญสำริด เป็นเหตุให้เรียกกันว่า "คลังเงิน"
4.ซุ้มประตูด้านทิศตะวันตก
มีทับหลังชิ้นหนึ่งสลักเป็นรูปขบวนแห่ พระพุทธรูปนาคปรก ที่ประดิษฐานอยู่เหนือคานหาม
5.ซุ้มประตูและกำแพงชั้นใน (ระเบียงคด)
เมื่อผ่านจากซุ้มประตูและกำแพงชั้นนอกไปแล้ว ก็จะถึงซุ้มประตูและกำแพงชั้นใน ซึ่งล้อมรอบปรางค์ประธานกำแพง
ชั้นในของปราสาทแตกต่างจากกำแพงชั้นนอก คือ ก่อเป็นห้องยาวต่อเนื่องกันคล้ายเป็นทางเดินมีหลังคาคลุม อันเป็น
ลักษณะที่เรียกว่า ระเบียงคด มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความยาวจากเหนือถึงใต้ 80 เมตร และความกว้างจาก
ตะวันออกถึงตะวันตก 72 เมตร มีทางเดินกว้าง 2.35 เมตร เดินทะลุกันได้ตลอดทั้งสี่ด้าน หลังคามุงด้วยแผ่นหิน
6.ซุ้มประตูและกำแพงแก้ว
ซุ้มประตูหรือโคปุระ ตั้งอยู่กึ่งกลางของแนวกำแพงแก้ว อยุ่ในแนวตรงกันหมดทั้ง 4 ด้าน คือ ทิศเหนือ-ใต้ อยู่ตรงกึ่ง
กลางของกำแพง ทิศตะวันออก-ตะวันตกค่อนไปทางเหนือเล็กน้อย ผังโดยรอบของซุ้มประตูมีลักษณะเป็นรูปกากบาท
จากกำแพงแก้วเข้ามาด้านในเชื่อกันว่าเป็นดินแดนของโลกสวรรค์ อันเป็นที่อยู่ของเทพเจ้า
7.ปรางค์ประธาน
ตั้งอยู่กลางลานภายในระเบียงคด เป็นศูนย์กลางของศาสนสถานแห่งนี้ ปรางค์ประธานสร้างด้วยหินทรายสีขาวทั้งองค์
ต่างจากซุ้มประตู(โคปุระ)และกำแพงชั้นในและชั้นนอกที่สร้างด้วยหินทรายสีแดงเป็นหลัก มีหินทรายสีขาวเป็นส่วน
ประกอบบางส่วน เนื่องจากหินทรายสีขาวมีคุณสมบัติคงทนดีกว่าหินทรายสีแดง องค์ปรางค์สูง 28 เมตร ฐานสี่เหลี่ยม
จัตุรัสย่อมุมไม้สิบสองยาวด้านละ 22 เมตร ด้านหน้ามีมณฑปเชื่อมต่อกับองค์ปรางค์โดยมีฉนวนกั้น องค์ปรางค์และ
มณฑปตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ส่วนด้านอื่น ๆ อีกสามด้านมีมุขยื่นออกไปมีบันไดและ ประตูขึ้นลงสู่องค์ปรางค์ทั้งสี่ด้าน

8.ปรางค์พรหมทัต
ตั้งอยู่ด้านหน้าปรางค์ประธานเยื้องไปทางซ้ายสร้างด้วยศิลาแลง มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุม กว้าง 14.50 สูงประมาณ 15 เมตร สร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ภายในปรางค์พบประติมากรรมหินทรายจำหลักเป็นรูปประติมากรรมฉลอง
องค์ของพระเจ้าชัยวรมันที่7 (จำลอง) ที่เรียกว่า ปรางค์พรหมทัต ก็เพื่อให้เข้ากับตำนานพื้นเมือง เรื่องท้าวพรหมทัต
พระเจ้าแผ่นดิน ปัจจุบันกรมศิลปากรได้เก็บรักษาองค์จริงไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย

9.ปรางค์หินแดง
ตั้งอยู่ทางด้านขวา สร้างด้วยหินทรายสีแดง กว้าง 11.40 เมตร สูง 15 เมตร มีมุขยื่นออกไปเป็นทางเข้าทั้ง 4 ทิศ เหนือกรอบประตูทางเข้าด้านทิศเหนือมีทับหลังสลักเป็นภาพเล่าเรื่องในมหากาพย์ภารตะตอนกรรณะล่าหมูป่า

10.หอพราหมณ์
เป็นอาคารก่อด้วยหินทรายและศิลาแลง ตั้งอยู่บนฐานเดียวกันกับบปรางค์หินแดง ในปี พ.ศ. 2493 ได้ค้นพบศิวลึงค์ สลักด้วยหินทรายจำนวน 7 ชิ้นอยู่ภายในหอพราหมณ์ เชื่อกันว่าอาคารหลังนี้คงเป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนา
พราหมณ์ แต่จากรูปแบบและตำแหน่งที่ตั้งเดิมคงเป็นที่ตั้งของบรรณาลัยมากกว่

11.บรรณาลัย
ตั้งอยู่บริเวณลานชั้นนอก ระหว่างกำแพงแก้วและซุ้มประตูระเบียงคด ด้านทิศตะวันตกเป็นอาคาร 2 หลังขนาดเดียวกัน ผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายกพื้นสูง ก่อด้วยหินทรายกั้นเป็นห้องยาวตลอดแนว พบร่องรอยหลุมเสารูปสี่เหลี่ยม
จตุรัส เดิมคงเป็นหลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง เชื่อกันว่าบรรณาลัยคือสถานที่เก็บรักษาคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนา
แหลงข้อมูล
http://www.paiduaykan.com/76_province/Northeast/nakhonratchasima/Pimai.html


เป็นปราสาทหินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย มีรูปแบบศิลปกรรมขอมแบบบาปวนและนครวัดที่มีความงดงาม เชื่อว่าเป็นต้นแบบ ในการสร้างปราสาทนครวัดในเขมร ปราสาทหินแห่งนี้ตั้งอยู่กลางเมืองพิมายซึ่งเป็นเมืองโบราณ




- เปิดเวลา 07.30-18.00 น.
- ค่าเข้าชม คนไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 40 บาท
- โทร. 0-4447-1568

http://www.sadoodta.com/content

ปราสาทหินพิมาย นครราชสีมา




ปราสาทหินพิมาย นครราชสีมา

ปราสาทหินพิมาย อยู่ใน อ. พิมาย จ. นครราชสีมา สร้างขึ้นเนื่องในพุทธศาสนา เป็นปราสาทหินบนพื้นราบที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ประกอบด้วยปราสาทประธานเป็นปรางค์องค์ใหญ่ สร้างด้วยหินปูนและหินทราย ตัวปราสาทหันหน้าไปทางทิศใต้ (โดยปกติปราสาทเขมร มักสร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันออก) คงให้รับกับถนนโบราณ ซึ่งตัดตรงจากเมืองพระนครหลวงของขอมมายังปราสาทหินพิมาย หน้าบันของปราสาทเป็นภาพเล่าเรื่อง เช่น รามเกียรติ์ ภาพศิวนาฏราช เป็นต้น

ปราสาทประธานล้อมรอบด้วยระเบียงคด ภายในลานชั้นในยังมีปรางค์พรหมทัตอยู่ทางทิศตะวันออก และปรางค์หินแดงอยู่ทางทิศตะวันตก สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ราวพ.ศ.๑๗๖๓-๑๗๖๕ และได้พบประติมากรรมบุรุษนั่งขัดสมาธิมือประนมอยู่เหนืออุระ เชื่อกันว่าเป็นพระรูปของพระเจ้าชัยวรมันที่๗

หลังปรางค์แดงมีอาคาร เรียกว่าหอพราหมณ์ อาจใช้เป็นที่ประกอบพิธีทางศาสนาพราหมณ์ ระหว่างระเบียงคดกับกำแพงสองชั้นเป็นลานชั้นในมีสระน้ำ หรือที่เรียกว่าบาราย อยู่ทั้งสี่มุม นอกกำแพงปราสาททางซุ้มประตูด้านในมีคลังเงิน ซึ่งเคยขุดพบเหรียญสำริดเป็นรูปครุฑหรือหงส์ด้านหนึ่ง และมีอักษรโบราณประกอบ
ที่สำคัญของภูมิภาค มีเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงกับเมืองสำคัญทางตอนเหนือของลาวและทางตอนใต้ของขอม เมื่อชมปราสาทหินพิมายแล้วควรแวะชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย ซึ่งจัดเก็บโบราณวัตถุสำคัญจากปราสาทแห่งนี้ไว้ พิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ในบริเวณใกล้กัน


ประวัติ
สร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธสถานในลัทธิมหายาน สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในยุคที่อาณาจักรขอมแผ่อิทธิพลมายังภูมิภาคนี้ในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 (พ.ศ. 1545-1593) และมีการก่อสร้างเพิ่มเติมในช่วงรัชกาลสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ. 1724-1761) มหาราชองค์สุดท้ายของอาณาจักรขอม ในปี พ.ศ. 2479 กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติและเริ่มบูรณะในปี พ.ศ. 2494 และ พ.ศ. 2497 กรมศิลปากรได้บูรณะองค์ปรางค์ประธานอีกครั้ง โดยได้รับเงินงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลฝรั่งเศส จนแล้วเสร็จในช่วงปี พ.ศ. 2507-2512 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 กำหนดให้เมืองโบราณพิมายและปราสาทหินพิมายเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ในปี พ.ศ. 2529 โดยมีการอนุรักษ์และบูรณะเป็นอย่างดี

ที่ตั้ง
อ. พิมาย ห่างจากตัวเมืองโคราชราว 60 กม.


สิ่งน่าสนใจ



ปราสาทหินพิมาย
หันหน้าไปทางทิศใต้ไปทางที่ตั้งของเมืองพระนครซึ่งเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรขอม ปราสาทหินพิมายมีแบบแปลนเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 565 ม. ยาว 1,030 ม. ล้อมรอบด้วยคูน้ำ มีประตูเมืองทั้งสี่ทิศ ภายในบริเวณปราสาทหินมีโบราณสถานที่น่าสนใจหลายแห่งโดยเริ่มตั้งแต่ทางเข้าตามลำดับดังนี้

- คลังเงิน จากประตูชัยเข้าไปก่อนถึงตัวปรางค์ จะเห็นคลังเงินตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก หรือทางด้านซ้ายมือ ปัจจุบันอาคารคลังเงินเหลือเพียงซากฐานขนาดใหญ่ เหตุที่เรียกอาคารหลังนี้ว่า "คลังเงิน" เพราะเคยพบเหรียญสำริดโบราณซึ่งด้านหนึ่งเป็นรูปครุฑหรือหงส์ อีกด้านหนึ่งเป็นอักษรโบราณ นอกจากนี้ยังพบทับหลังจำหลักเป็นรูปคนกำลังหลั่งน้ำมอบม้าแก่พราหมณ์

- สะพานนาค เป็นทางที่ทอดนำเข้าสู่ตัวปรางค์ มีนาคทอดตัวยาวเป็นราวบันได ชูเศียรทั้งเจ็ดแผ่พังพานเปล่งรัศมีอย่างสวยงาม นาคเป็นสัตว์มงคลที่มักพบตามโบราณสถาน ที่ได้รับอิทธิพลจากคติของศาสนาฮินดู หรือพราหมณ์ซึ่งเชื่อว่านาคทอดร่างเป็นทางเชื่อมระหว่างโลกมนุษย์กับสวรรค์ที่เชิงบันไดนาคทั้งสองข้างมีสิงห์จำหลักจากหินประดับอยู่ข้างละตัว สิงห์มีท่าทางองอาจเสมือนเป็นผู้พิทักษ์โบราณสถาน ลักษณะทางศิลปกรรมของสิงห์และนาคนี้ คล้ายศิลปะที่นครวัดที่สร้างในช่วงรัชกาลพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 (พ.ศ. 1656-1688)



- ซุ้มประตู หรือโคปุระชั้นนอก มีทั้งหมดสี่ด้านอยู่กึ่งกลางแนวกำแพง ลักษณะการสร้างเหมือนกันทุกด้านคือมีขนาดกว้างสามคูหามีเสาศิลา ช่องลมประดับข้างละสองช่อง เคยพบทับหลังชิ้นหนึ่งที่โคปุระด้านทิศตะวันตก สลักเป็นรูปขบวนแห่พระพุทธรูปนาคปรกประดิษฐานบนคานหาม ทับหลังชิ้นนี้ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย

- พระระเบียง เมื่อมาถึงระเบียงก็ถือว่าเข้าสู่เขตชั้นในของปราสาทหินแล้ว พระระเบียงแต่ละด้านมีซุ้มประตูหรือโคปุระชั้นในอยู่กึ่งกลาง ที่น่าสนใจคือที่กรอบประตูด้านทิศใต้มีจารึกบนแผ่นหิน เป็นอักษรเขมรโบราณกล่าวถึงการสร้างเมืองพิมาย และการสร้างรูปเคารพ

จากพระระเบียงจะเข้าสู่ชั้นในซึ่งเป็นส่วนสำคัญของปราสาทหินพิมาย มีปรางค์สามองค์ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน คือ ปรางค์ประธาน ปรางค์พรหมทัต และปรางค์หินแดง




- ปรางค์ประธาน มีขนาดใหญ่ที่สุดในจำนวนปรางค์ทั้งสามองค์ สร้างขึ้นช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-17 หันหน้าไปทางทิศใต้ ต่างจากปราสาทขอมแห่งอื่น ๆ ที่มักจะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก สันนิษฐานว่าหันไปยังที่ตั้งเมืองพระนคร ซึ่งเป็นเมืองหลวงศูนย์กลางอำนาจของขอมในอดีต บ้างก็ว่าเป็นคติทางพุทธศาสนาที่ถือทิศใต้เป็นทิศแห่งการมีชีวิต

องค์ปรางค์ตั้งอยู่บนฐานสูงสองชั้นสลักลวดลายต่าง ๆ เช่น ลายประจำยาม ลายกลีบบัวอย่างสวยงาม ก่อด้วยหินทรายสีขาวทำเป็นชั้นซ้อนกันขึ้นไปห้าชั้น ที่ส่วนยอดจำหลักเป็นรูปครุฑแบกทั้งสี่ทิศ เหนือขึ้นไปสลักเป็นรูปเทพประจำทิศต่าง ๆ และรูปดอกบัว นับเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่ต่างจากปราสาทหินที่พบทั่วไป

จากองค์ปรางค์ประธานมีมุขเชื่อมต่อกับห้องรูปสี่เหลี่ยมทางด้านทิศใต้หรือด้านหน้า ทำให้ภายในปรางค์ดูกว้างขวาง

ทับหลังและหน้าบันที่ประดับองค์ปรางค์ประธานส่วนใหญ่เล่าเรื่องรามายณะ และคติความเชื่อในศาสนาฮินดูหรือพราหมณ์ เช่น หน้าบันด้านทิศใต้ หรือด้านหน้าก่อนเดินเข้าในองค์ปรางค์เป็นภาพศิวนาฏราช หรือพระศิวะฟ้อนรำ 108 ท่า ในศาสนาฮินดูเชื่อว่า เมื่อใดที่พระศิวะฟ้อนรำผิดจังหวะ เมื่อนั้นโลกก็จะเกิดกลียุค นอกจากนี้ยังมีทับหลังที่จำหลักภาพอันเป็นหลักฐานสำคัญ ว่าปราสาทหินพิมายเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนา คือภาพพุทธประวัติตอน "มารวิชัย" และพระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน




- ปรางค์พรหมทัต ก่อด้วยศิลาแลง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ. 1724-1761) เมื่อคราวที่พระองค์ทรงบูรณะปราสาทหินพิมาย ภายในปรางค์พบประติมากรรมศิลารูปบุคคลขนาดใหญ่นั่งขัดสมาธิ ชาวบ้านเรียกกันว่าท้าวพรหมทัต แต่นักโบราณคดีเชื่อว่าเป็นพระบรมรูปของพระเจ้าชัย-วรมันที่ 7 และพบรูปผู้หญิงนั่งคุกเข่าที่ชาวบ้านเรียกว่า นางอรพิมพ์ ในตำนานอรพิมพ์ ปาจิตต ซึ่งเป็นเรื่องเล่าในท้องถิ่น จนกลายเป็นชื่อบ้านนามเมืองในย่านเมืองพิมาย ประติมากรรมที่พบดังกล่าวสภาพไม่สมบูรณ์ ปัจจุบันนำไปจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย


- ปรางค์หินแดง ตั้งอยู่ด้านขวาของปรางค์ประธาน ก่อด้วยหินทรายสีแดง มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 17 ในสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ซึ่งทรงนับถือศาสนาพราหมณ์ลัทธิไวษณพนิกาย และได้พบศิวลึงค์ในหอพราหมณ์ซึ่งตั้งอยู่ติดกับปรางค์หินแดงถึงเจ็ดองค์ จึงสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นสถานที่ที่ประกอบพิธีทางศาสนาพราหมณ์


- บรรณาลัย เป็นอาคารก่อด้วยหินทรายสีแดงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายกพื้นสูง ตั้งอยู่ใกล้ซุ้มประตูทิศตะวันตก นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าเป็นที่เก็บรักษาตำราทางศาสนา หรืออาจเป็นที่ประทับของกษัตริย์เมื่อเสด็จมาทรงประกอบพิธีกรรม


- สระน้ำ หรือบาราย โบราณสถานเขมรมักมีสระน้ำ หรือที่ภาษาเขมรเรียกว่าบาราย อยู่คู่กันแทบทุกแห่ง เป็นสระที่ขุดขึ้นเพื่อเก็บกักน้ำไว้อุปโภคบริโภค บางคนก็เชื่อว่าเป็นสระน้ำศักดิ์สิทธิ์เพื่อใช้ในการประกอบพิธีกรรม บริเวณเมืองพิมายมีบารายอยู่หลาย แห่งที่อยู่ภายในกำแพงเมือง คือ สระแก้ว สระพรุ่ง และสระขวัญ นอกเขตกำแพงเมืองคือสระเพลง อยู่ทางทิศตะวันออก สระโบสถ์ อยู่ทางทิศตะวันตก




ประตูชัย
เป็นหนึ่งในประตูเมืองซึ่งมีอยู่ทั้งสี่ทิศ ประตูชัยอยู่ทางด้านทิศใต้ของปราสาทหินพิมายรับกับถนนโบราณที่ทอดตรงมาจากเมืองพระนครในเขมร มีแผนผังการก่อสร้างเหมือนกันทุกประตู คือเจาะเป็นช่องสูงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่อด้วยศิลาแลง ด้านข้างทั้งสองด้านของประตูมีห้องอยู่สามห้อง เทคนิคการสร้างประตูเมืองนี้บ่งบอกว่าอยู่ในยุคสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทำให้สันนิษฐานได้ว่าประตูเมืองคงได้รับการสร้างเพิ่มเติมขึ้นภายหลังในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7


กุฏิฤาษี
บริเวณที่ตั้งกุฏิฤาษีเป็นจุดสิ้นสุดของถนนโบราณที่มีต้นทางจากเมืองพระนครในเขมร แต่ไม่เหลือร่องรอยถนนไว้ให้เห็นเพราะเป็นที่อยู่อาศัยของชาวบ้าน กุฏิฤาษีเชื่อว่าเป็นอโรคยาศาลสร้างขึ้นช่วงรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งเป็นยุครุ่งเรืองแห่งอาณาจักรขอม พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างอโรคยาศาลตามเส้นทางโบราณไว้เป็นจำนวนมาก ปัจจุบันนี้เหลือให้เห็นเพียงซากกำแพงศิลาแลงกับปราสาทเท่านั้น

ท่านางสระผม
เป็นโบราณสถานนอกกำแพงเมือง ตั้งอยู่ริมลำน้ำเค็มทางทิศใต้ของเมือง เดิมทีเป็นเพียงเนินดินใหญ่ที่มีเศษภาชนะดินเผาและเศษกระเบื้อง กระทั่งได้รับการขุดแต่งขึ้นในปี พ.ศ. 2531 จึงพอเห็นรูปรอยว่าเป็นอาคารทรงกากบาทก่อด้วยศิลาแลงมีฐานเป็นชั้น ๆ และพบร่องรอยหลุมขนาดเล็กอยู่ที่มุมอาคารทุกจุด นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าคงเป็นศาลาจัตุรมุข ซึ่งเป็นท่ารับเสด็จเจ้านายทางฝั่งพิมาย เพราะเป็นท่าน้ำแห่งเดียวที่อยู่ในแนวถนนโบราณห่างจากท่านางสระผมไปเล็กน้อยมีสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้าง 200 ม. ยาว 400 ม. เรียกว่าสระช่องแมว แต่ไม่ปรากฏเรื่องราวว่ามีความสำคัญใด

ประวัติปราสาทหินพิมาย


ตั้งอยู่ในตัวอำเภอพิมาย ประกอบด้วยโบราณสถานสมัยขอม ที่ใหญ่โต และงดงามอลังการนั่นคือ “ปราสาทหินพิมาย” แหล่งโบราณคดีที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ บนพื้นที่ 115 ไร่

ตั้งอยู่ในตัวอำเภอพิมาย ประกอบด้วยโบราณสถานสมัยขอมที่ใหญ่โตและงดงามอลังการนั่นคือ “ปราสาทหินพิมาย” แหล่งโบราณคดีที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ บนพื้นที่ 115 ไร่ วางแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 565 เมตร ยาว 1,030 เมตรชื่อ “พิมาย” น่าจะมาจากคำว่า “วิมาย” หรือ “วิมายปุระ” ที่ปรากฏในจารึกภาษาเขมรบนแผ่นหินตรงกรอบประตูระเบียงคด ด้านหน้าของปราสาทหินพิมาย และยังปรากฏชื่อในจารึกอื่นอีกหลายแห่ง อาจจะเป็นคำที่ใช้เรียกรูปเคารพหรือศาสนาสถาน

สิ่งที่เป็นลักษณะพิเศษของปราสาทหินพิมาย คือ ปราสาทหินแห่งนี้สร้างหันหน้าไปทางทิศใต้ต่างจากปราสาทหินอื่นที่มักหันหน้าไปทางทิศตะวันออก สันนิษฐานว่าเพื่อให้หันรับกับเส้นทางที่ตัดมาจากเมืองยโศธรปุระเมืองหลวงของอาณาจักรเขมรซึ่งเข้าสู่เมืองพิมายทางด้านทิศใต้

จากหลักฐานศิลาจารึกและศิลปะการก่อสร้าง บ่งบอกว่าปราสาทหินพิมายคงจะเริ่มสร้างขึ้นในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 16 ในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 รูปแบบทางศิลปกรรมของตัวปราสาทเป็น แบบปาปวนซึ่งเป็นศิลปะที่รุ่งเรืองในสมัยนั้น โดยมีลักษณะของศิลปะแบบนครวัดซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยต่อมาปนอยู่บ้าง และมาต่อเติมอีกครั้งในราวต้นพุทธศตวรรษที่ 18 สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งครั้งนั้นเมืองพิมายเป็นเมืองซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอาณาจักรเขมร

ปราสาทหินแห่งนี้สร้างเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนาลัทธิมหายานมาโดยตลอด เนื่องจากพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 และพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงนับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายาน

ปราสาทหินพิมายมีสิ่งก่อสร้างที่น่าสนใจดังนี้

สะพานนาคราช เมื่อเข้าไปเยี่ยมชมปราสาทหินพิมายจะผ่านส่วนนี้เป็นส่วนแรก จะเห็นสะพานนาคราชและประติมากรรมรูปสิงห์ ตั้งอยู่ด้านหน้าของซุ้มประตูด้านทิศใต้ ของปรางค์ประธานซึ่งเป็นส่วนหน้าของปราสาท ทั้งนี้อาจมีจุดมุ่งหมายในการสร้าง ให้เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงการเชื่อมต่อ ระหว่างโลกมนุษย์กับโลกสวรรค์ ตามคติความเชื่อในเรื่องจักรวาลทั้งในศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ มีลักษณะเป็นรูปกากบาท ยกพื้นขึ้นสูงจากพื้นดินประมาณ 2.50 เมตร ราวสะพานโดยรอบทำเป็นลำตัวพญานาค ชูคอแผ่พังพานเป็นนาคเจ็ดเศียร มีลำตัวติดกันเป็นแผ่น หันหน้าออกไปยังเชิงบันไดทั้งสี่ทิศ

ซุ้มประตูและกำแพงชั้นนอกของปราสาท

ถัดจากสะพานนาคราชเข้ามาเป็นซุ้มประตูหรือที่เรียกว่า โคปุระ ของกำแพงปราสาทด้านทิศใต้ ก่อด้วยหินทราย มีผังเป็นรูปกากบาทและมีซุ้มประตูลักษณะเดียวกันนี้อีก 3 ทิศ คือ ทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก โดยมีแนวกำแพงสร้างเชื่อมต่อระหว่างกันเป็นผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยาวจากเหนือถึงใต้ 277.50 เมตร และกว้างจากตะวันออกไปตะวันตก 220 เมตร

ซุ้มประตูด้านทิศตะวันตก มีทับหลังชิ้นหนึ่งสลักเป็นรูปขบวนแห่ พระพุทธรูปนาคปรก ที่ประดิษฐานอยู่เหนือคานหาม

ซุ้มประตูและกำแพงชั้นใน (ระเบียงคด) เมื่อผ่านจากซุ้มประตูและกำแพงชั้นนอกไปแล้ว ก็จะถึงซุ้มประตูและกำแพงชั้นใน ซึ่งล้อมรอบปรางค์ประธาน กำแพงชั้นในของปราสาทแตกต่างจากกำแพงชั้นนอก คือ ก่อเป็นห้องยาวต่อเนื่องกันคล้ายเป็นทางเดินมีหลังคาคลุม อันเป็นลักษณะที่เรียกว่า ระเบียงคด มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความยาวจากเหนือถึงใต้ 80 เมตร และความกว้างจากตะวันออกถึงตะวันตก 72 เมตร มีทางเดินกว้าง 2.35 เมตร เดินทะลุกันได้ตลอดทั้งสี่ด้าน หลังคามุงด้วยแผ่นหิน

การบูรณะระเบียงคดเมื่อปีพ.ศ 2532 ได้พบแผ่นทองดุนลายรูปดอกบัว 8 กลีบ บรรจุไว้ในช่องบนพื้นหินของซุ้มประตูระเบียงคดเกือบจะทุกด้าน แผ่นทองเหล่านี้คงไว้เพื่อความเป็นสิริมงคล เหมือนที่พบในปราสาท อื่นอีกหลายแห่ง

ปรางค์ประธาน ตั้งอยู่กลางลานภายในระเบียงคด เป็นศูนย์กลางของศาสนสถานแห่งนี้
ปรางค์ประธานสร้างด้วยหินทรายสีขาวทั้งองค์ ต่างจากซุ้มประตู(โคปุระ)และกำแพงชั้นในและชั้นนอกที่สร้างด้วยหินทรายสีแดงเป็นหลัก มีหินทรายสีขาวเป็นส่วนประกอบบางส่วน

เนื่องจากหินทรายสีขาวมีคุณสมบัติคงทนดีกว่าหินทรายสีแดง องค์ปรางค์สูง 28 เมตร ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมไม้สิบสองยาวด้านละ 22 เมตร ด้านหน้ามีมณฑปเชื่อมต่อกับองค์ปรางค์โดยมีฉนวนกั้น องค์ปรางค์และมณฑปตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ส่วนด้านอื่น ๆ อีกสามด้านมีมุขยื่นออกไปมีบันไดและ ประตูขึ้นลงสู่องค์ปรางค์ทั้งสี่ด้าน

ปรางค์พรหมทัต ตั้งอยู่ด้านหน้าปรางค์ประธานเยื้องไปทางซ้ายสร้างด้วยศิลาแลง มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุม กว้าง 14.50 สูงประมาณ 15 เมตร สร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

ภายในปรางค์พบประติมากรรมหินทรายจำหลักเป็นรูปประติมากรรมฉลององค์ของพระเจ้าชัยวรมันที่7 (จำลอง) ที่เรียกว่า ปรางค์พรหมทัต ก็เพื่อให้เข้ากับตำนานพื้นเมือง เรื่องท้าวพรหมทัตพระเจ้าแผ่นดิน ปัจจุบันกรมศิลปากรได้เก็บรักษาองค์จริงไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย

ปรางค์หินแดง ตั้งอยู่ทางด้านขวา สร้างด้วยหินทรายสีแดง กว้าง 11.40 เมตร สูง 15 เมตร มีมุขยื่นออกไปเป็นทางเข้าทั้ง 4 ทิศ เหนือกรอบประตูทางเข้าด้านทิศเหนือมีทับหลังสลักเป็นภาพเล่าเรื่องในมหากาพย์ภารตะตอนกรรณะล่าหมูป่า
ออกจากระเบียงคด (กำแพงชั้นใน) มาบริเวณลานชั้นนอกทางด้านทิศตะวันตก ล้อมรอบด้วยกำแพงชั้นนอกอีกชั้นหนึ่ง ประกอบด้วยอาคารที่เรียกว่า บรรณาลัย มีสองหลังตั้งอยู่คู่กันและมีสระน้ำอยู่ทั้งสี่มุม

อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 07.30-18.00 น. ค่าเข้าชม ชาวไทยคนละ 10 บาท ชาวต่างประเทศคนละ 40 บาท มีบริการยุวมัคคุเทศก์ซึ่งเป็นนักเรียน จากโรงเรียนพิมายวิทยานำชมสถานที่ฟรี สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร. 0 4447 1568

โบราณสถานนอกกำแพงปราสาทหินพิมาย มีสิ่งที่น่าสนใจดังนี้

ประตูเมืองและกำแพงเมืองพิมาย สร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 บรรดาประตูเมืองทั้ง 4 ทิศ ประตูชัยด้านทิศใต้นับเป็นประตูเมืองที่สำคัญที่สุด
เพราะรับกับถนนโบราณที่ตัดผ่านมาจากเมืองพระนครเข้าสู่ตัวปราสาทพิมาย หากหยุดยืนที่ช่องประตูเมืองด้านทิศใต้ จะมองเห็นปราสาทหินพิมายผ่านช่องประตูเมืองพอดี ลักษณะประตูเมืองมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีทางผ่านตลอดกลางประตู

ส่วนของหลังคาได้หักพังไปหมดแล้ว
เมรุพรหมทัต อยู่นอกกำแพงปราสาทด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นซากโบราณสถานก่อด้วยอิฐ ปัจจุบันเป็นมูลดินทับถมจนเป็นรูปกลมสูงประมาณ 30 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 59 เมตร ที่เรียกว่าเมรุพรหมทัตเพราะเชื่อว่าเป็นที่ถวายเพลิงพระศพท้าวพรหมทัตตามตำนานนั่นเอง แต่จากลักษณะการก่อสร้างเข้าใจว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย นอกจากนี้ยังมีโบราณสถานทางด้านทิศใต้ได้แก่ ท่านางสระผม กุฏิฤาษี และอโรคยาศาล
แหล่งข้อมูล
http://www.pm.ac.th/prasathinphimai.html

ปราสาทหินพิมาย


ปราสาทหินพิมาย

ปราสาทหินพิมายเป็นปราสาทที่มีความใหญ่โตและมีความงดงามที่สุดแห่งหนึ่ง ทั้งยังเป็นโบราณสถานที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศไทยอีกด้วย ตัวปราสาทอยู่ใกล้กับแม่น้ำมูล
ปราสาทหินพิมายชนชาติขอมในสมัยโบราณได้สร้างขึ้นในราวศตวรรษที่ 16 - 17 ซึ่งตรงกับรัชกาลของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ต่อมาพระเจ้าสุริยวรมันที่ 6 และที่ 7 ได้สร้างต่อเพิ่มเติม
ปราสาทหินพิมายสร้างขึ้นไว้เนื่องในศาสนาพุทธลัทธิมหายานและศาสนาพราหมณ์ทั้งสามนิกาย เพื่อเป็นพุทธศาสนสถานและเทวสถานของมหาชนทั้งชาวพุทธแลพราหมณ์ ปราสาทแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นก่อนปราสาทนครวัตในประเทศกัมพูชาและก่อนปราสาทหินพนมรุ้ง จัดเป็นโบราณสถานที่มีความสวยงามทั้งในด้านสถาปัตยกรรมและประติมากรรม และ


เป็นต้นแบบของปราสาททุกแห่งในภาคพื้นเอเชีย ทั้งยังแสดงให้เห็นถึงความรู้ความสามารถของคนในสมัยนั้นอีกด้วย
รูปแบบของปราสาทหินพิมาย ประกอบด้วยกำแพงสี่เหลี่ยมล้อมด้วยรอบสร้างด้วยหินทรายแดง มีซุ้มประตูทั้ง 4 ทิศ ประตูใหญ่อยู่ทางทิศใต้ (หน้าปราสาทหันไปทางทิศใต้) ซึ่งตรงกับประตูเมืองคือ ประตูชัย ตัวปราสาทมี 3 องค์ ประกอบด้วยปรางค์ประธานหรือปราสาทหลังกลาง มีปรางค์อีก 2 องค์ เรียกว่า ปรางค์พรหมทัต และปรางค์หินแดง (ชาวบ้านเรียกปรางค์นาอรพิน) หลังปราสาทหินแดงเป็นหอพราหมณ์ ทั้งหมดนี้มีระเบียงคตล้อมรอบ ด้านตะวันตกมีบรรณาลัยอยู่ด้านหลังมีกำแพงสี่เหลี่ยมล้อมรอบ และมีซุ้มประตูทั้ง 4 ทิศ เป็นคูหาติดต่อถึงกันตลอด ด้านเหนือและด้านใต้กว้าง 220 เมตร ด้านตะวันออกและด้านตะวันตกยาว 277.50 เมตร ถัดจากกำแพงจะเป็นลานกว้างใหญ่ มีสระน้ำอยู่ทั้ง 4 มุมของตัวปราสาท และจากบริเวณลานเข้าไปถึงระเบียงคต(กำแพงชั้นใน) มีทางกว้าง 2.35 เมตร ทะลุถึงกันทั้งสี่ด้าน หลังคามุงด้วยแผ่นหิน
บริเวณชั้นในของตัวปราสาท (ปรางค์ 3 หลัง อาคารอีก 3 หลัง) มีลานทางด้านเหนือและด้านใต้กว้าง 58 เมตร ด้านตะวันออกและด้านตะวันตกยาว 66 เมตร
รายละเอียดโบราณสถานภายในตัวปราสาทหินพิมายมีดังนี้
ปรางค์ประธาน เป็นสถาปัตยกรรมหลักและเป็นศูนย์กลางของศาสนาสถานแห่งนี้ สร้างด้วยหินทรายขาว หันหน้าไปทางทิศใต้ สูง 28 เมตร ฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้าง 22 เมตร มีมุข 3 ด้าน คือ ทางทิศเหนือ ตะวันออกและตะวันตก ส่วนยอดปรางค์หรือหลังคาทำเป็นชั้น ๆ ลดหลั่นกันไป เรียกว่าชั้นเชิงบาตร รวม 5 ชั้น ประดับด้วยกลีบขนุนปรางค์และประติมากรรมหินทรายเป็นรูปสัตว์และเทพต่าง ๆ ยอดบนสุดสลักเป็นรูปดอกบัว
หอพราหมณ์ สร้างด้วยหินทรายและมีศิลาแลงแซมบางส่วน อยู่ด้านหน้าของปรางค์ประธานทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมหินผ้าขนาด 6.50 X 17 เมตร มีมุกขื่นออกไปเป็นบันได้และประตูเข้า - ออก ภายในอาคารพบศิวลึงค์หินทราย จึงเชื่อว่าคงเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาพราหมณ์ จึงเป็นเหตุ เรียกว่า หอพราหมณ์
ปรางค์หินแดง ตั้งอยู่บนฐานเดียวกับหอพราหมณ์ สร้างด้วยหินทรายสีแดง ฐานปรางค์เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้าง 11.40 เมตร สูง 15 เมตร มีมุขยื่นออกไป 4 ทิศ ที่มุขแต่ละด้าน มี 1 ประตู จากการขุดแต่งพบว่าแท่งหินที่ใช้ต่อฐานบางท่อนมีลวดลายสลัก แต่วางกลับข้างจากบนลงล่าง แสดงว่าคงรื้อเอาวัสดุเก่ามาใช้ในการก่อสร้างและคงสร้างพรอ้มกับหอพราหมณ์เนื่องจากอยู่บนฐานเดียวกัน
ปรางค์พรหมทัต ตั้งอยู่แนวเดียวกันกับปรางค์หินแดง สร้างด้วยศิลาแลงฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้าง 14.50 เมตร สูง 16 เมตร ภายในพบประติมากรรมหินทรายรูปบุคคล 2 รูป รูปหนึ่งเป็นบุคคลขนาดใหญ่นั่งขัดสมาธิ เชื่อกันว่าเป็นรูปของพระเจ้าขัยวรมันที่ 7 ซึ่งเรียกกันว่าท้าวพรหมทัต อีกรูปหนึ่งเป็นสตรีนั่งคุกเข่า ศรีษะ และแขนขาด ไปเหลือแต่ลำตัว เชื่อกันว่าเป็นรูปของพระนางราชเทวีมเหสีของพระเข้าชัยวรมันที่ 7 ชาวบ้านเรียกกันว่า นางอรพิมพ์
ฐานอาคาร ตั้งอยู่ระหว่างซุ้มประตูกำแพงชั้นในด้านทิศตะวันออกกับปรางค์ประธาน มีลักษณะคล้ายฐานปรางค์ สร้างด้วยหินทรายสีแดงเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 8.15 เมตร สูง 70 เมตร
ธรรมศาลา ก่อนจะเข้าสู่บริเวณภายในกำแพงปราสาทหินพิมาย มีอาคารหลังหนึ่งตั้งอยู่ทางซ้ายมือหันหน้าเข้าสู่ถนน เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 26 x 35.10 เมตร สร้างด้วยหินทราย มีบันไดและประตูเข้าสู่อาคารทั้งด้านตะวันออกและตะวันตกข้าง ๆ ประตูจริงเป็นประตูหลอกด้านละ 1 ประตู มีการกั้นแบ่งเป็นห้อง ๆ โดยทุกห้องมีประตูทะลุถึงกันอาคารหลังนี้ใช้เป็นสถานที่พักเตรียมพระองค์สำหรับกษัตริย์ หรือเจ้านายชั้นสูงยามเสด็จมาประกอบพิธีทางศาสนา รวมทั้งเป็นที่พักจัดขบวนปัจจัย ของถวายต่าง ๆ ที่ใช้ในพิธี
สะพานนาคราช เป็นสะพานสร้างด้วยหินทรายตั้งอยู่ตรงหน้าซุ้มประตูกำแพงชั้นนอกเป็นรูปกากบาทขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 3170 เมตร ยกพื้นสูงจากพื้นดินประมาณ 2.50 เมตร มีบันไดขึ้นลง 3 ด้าน เชิงบันไดทำเป็นอัฒจันทร์ รูปปีกกา ราวสะพานโดยรอบทำเป็นลำตัวของนาคราชชูคอแผ่พังพางมี 7 เศียรที่เชิงบันไดมีประติมากรรมรูปสิงห์ทำด้วยหินทราย เสาและขอบสะพานสลักลวดลายงดงาม
กำแพงชั้นนอกและซุ้มประตู
กำแพงชั้นนอก สร้างด้วยหินทราย มีศิลาแลงแทรกเป็นบางส่วนขนาดประมาณ 220 X 277.50 เมตรมีประตูหลอกทำเลียนแบบบานประตูไว้ 2 บาน กำแพงชั้นนอกด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ที่สุดคือยังมีความสูงเหลืออีก 8 เมตร
ซุ้มประตู ที่กึ่งกลางกำแพงชั้นนอกทั้ง 4 ด้าน เป็นซุ้มประตูหรือที่เรียกกันว่า โคปุระ สร้างดินหินทรายผังโดยรวมของประตูซุ้มมีลักษณะเป็นรูปกากบาท มีประตูผ่านเข้าได้ 3 ทาง คือ ประตูกลางผ่านทางห้องมุขและประตูข้างทางห้องริมสุด 2 ข้าง
ทางเดินเข้าสู่ปราสาท เป็นทางเดินที่สร้างดินหินทรายสูงขึ้นมาประมาณ 1 เมตร มีบันไดลงจากทางเดินสู่พื้นล่างที่มุมทั้งสี่ และทั้งสองข้างของช่องกลางตลอดแนว ทางเดินที่เชื่อมตัดกันมีหลุมเสาตั้งเรียงกันอยู่เป็นระยะ ๆ จาการขุดแต่งบริเวณนี้ใน พ.ศ.2530 ได้พบเศษกระเบื้องและบภลีดินเผาเป็นจำนวนมาก สันนิษฐานได้ว่ายกพื้นทางเดินทั้งหมดนี้มีลักษณะเป็นระเบียงโปร่ง หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผารองรับด้วยเสาไม้ซึ่งผุพังไปหมดแล้ว
บรรณาลัย ตั้งอยู่บริเวณลานชั้นนอกซีกตะวันตก ระหว่างประตูซุ้มกำแพงชั้นในและชั้นนอก เป็นรูปสี่เหลี่ยมกว้าง 25.50 X 26.50 เมตร จำนวน 2 หลัง อาคาร 2 หลังนี้จัดเป็นอาคารใหญ่ ไม่มีหลักฐานให้ทราบชัดถึงประโยชน์ใช้สอยที่แท้จริง เรียกต่อ ๆ กันมาว่า บรรณาลัย ซึ่งหมายถึง สถานที่เก็บรักษาคัมภีร์ต่าง ๆ ทางศาสนาเทียบกับวัดของเราในปัจจุบันก็คงจะเทียบได้กับ “หอไตร” นั่นเอง แต่เมื่อพิจารณาสภาพภายในอาคารแล้วชวนให้สันนิษฐานว่าน่าจะใช้ประโยชน์อย่างอื่น เช่น อาจเป็นที่ประกอบศาสนกิจของพระสงฆ์ในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน อันเป็นศาสนาหลักของศาสนาสถานแห่งนี้ หรืออาจเป็นที่พักกระบวนเสด็จของกษัตริย์หรือเจ้านายก็เป็นได้
สระน้ำ ตั้งอยู่ที่มุมทั้ง 4 ของลานชั้นนอก มีขนาดไม่เท่ากันและตำแหน่งที่ตั้งก็ไม่อยู่ในแนวตรงกัน นอกจากนี้ที่บริเวณนี้ยังเคยเป็นที่ตั้งของวัดต่าง ๆ ซึ่งได้ย้ายออกไปสร้างใหม่ข้างนอกปราสาทแล้ว รวมทั้งสิ้น 4 วัด คือวัดสระหิน วัดพระปรางค์ใหญ่ วัดโบสถ์ (ซึ่งมีพระอุโบสถ เรียกกันว่า โบสถ์เจ้าพิมาย) และวัดพระปรางค์น้อย จากการที่เรียกชื่ออุโบสถว่า โบสถ์เจ้าพิมาย ประกอบกับได้พบพระพุทธรูปสมัยอยุธยาตอนปลาย เมือครั้งกรมหมื่นเทพพิพิธมาสะสมกำลังตั้งตัวเป็นใหญ่คราวเสียกรุงครั้งที่สอง เรียกว่า ก๊กเจ้าพิมาย สระน้ำทั้งหลายจึงคงเป็นสระน้ำที่วัดเหล่านั้นขุดขึ้นมาใช้ประจำวัดนั่นเอง
กำแพงชั้นในและซุ้มประตู
กำแพงชั้นใน สร้างด้วยหินทรายเป็นห้องยาวต่อเนื่องกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ล้อมรอบลานปราสาทชั้นใน กว้าง 2.35 เมตร ยาวจากเหนือ - ใต้ 72 เมตร จากตะวันออก - ตะวันตก 80 เมตร อยู่สูงจากพื้นดิน 1 เมตร ภายในเดินทะลุถึงกันได้ ส่วนผนังด้านนอกปิดทึบ ทำเป็นหน้าต่างหลอดประดับด้วยลูกมะหวด
ซุ้มประตูของกำแพงชั้นใน สร้างด้วยหินทรายเช่นกัน มี 4 ประตู ลักษณะคล้ายซุ้มประตูกำแพงชั้นนอก แต่เล็กกว่ามีจารึกบนกรอบประตูด้วยอักษรของโบราณกล่าวถึงชื่อ “กมรเตงชคตวิมาย” และการสร้างรูปเคารพชื่อ “กมรเตงชคตเสนาบดีไตรโลกยวิชัย”ใน พ.ศ.1651 ทับหลังของซุ้มประตูส่วนใหญ่พังทลายลง ปัจจุบันได้นำบางส่วนเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมายส่วนที่เหลือได้นำไปติดตั้งที่โบราณสถานแล้ว ภาพสลักทับหลังดังกล่าวเป็นศิลปะแบบปาปวนนครวัด
เมรุพรหมทัต ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทหินพิมายเป็นซากเนินเจดีย์ขนาดใหญ่ ก่อด้วยอิฐ สาเหตุที่เรียกชื่อว่าเมรุพรหมทัตนั้นคงเป็นเรื่องเชื่อมโยงกับนิทานพื้นบ้านเรื่องนางอรพิมพ์กับท้าวปาจิต ซึ่งเล่ากันว่าสถานที่นี้ คือที่ถวายพระเพลิงท้าวพรหมทัต
ปราสาทหินพิมายมีลักษณะเด่นและสำคัญคือ เป็นปราสาทหินที่มีขนาดใหญ่โต ได้รับการบูรณะเมื่อ ปี พ.ศ 2507 และเสร็จเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2511 ตามหลักวิชาบูรณะแบบ อนัสติโลซิส ลวดลายจำหลักมีคุณค่าสูงส่งทางศิลปะ
ได้มีพิธีเปิดอุทยานประวัติศาสตร์พิมายอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2532 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธาน
http://www.hamanan.com/tour/nakhonratsima/utayanpimai.html

มีพื้นที่ทั้งหมด 115 ไร่ อยู่ในอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา เป็นที่ตั้งของปราสาทหินแบบขอมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดใน ประเทศไทย คือ ปราสาทหินพิมาย อันเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนานิกายมหายาน พุทธศตวรรษที่ 16-19 ทำพิธีเปิด อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2532

ความสำคัญ


ศาสนสถานในพุทธศาสนานิกายมหายานราวพุทธศตวรรษที่ 16-19 สร้างในรัชสมัยของพระเจ้าสุริยะวรมันที่ 1 ศิลปะ แบบบาปวน นครวัด บายน ในสมัยอยุธยาตอนปลายเคยเป็นสถานที่ซ่องสุมผู้คนของกรมหมื่นเทพพิพิธเพื่อต่อสู้พม่า ที่รู้จักกันในนามของก๊กเจ้าพิมาย ซึ่งต่อมาได้พ่ายแพ้แก่กองทัพพระเจ้าตากสินที่ออกปราบปรามก๊กต่าง ๆ
จุดสนใจ


ปรางค์ใหญ่ ก่อด้วยศิลาทรายสีขาวล้วน เป็นปราสาทหินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย แปลกจากปราสาทขอมโดย ทั่วไป คือ มีมณฑปอยู่ที่เรือนธาตุทางทิศใต้ และมีลายจำหลักรูปครุฑแบกบนยอดปราสาททั้ง 4 ทิศ ภาพจำหลักศิลาทาง พุทธศาสนาบนทับหลังเหนือประตูชั้นในรอบองค์ปรางค์ ทิศใต้เป็นภาพพระพุทธรูปปางนาคปรก ล้อมรอบด้วยพระพุทธ รูปทรงเครื่อง 5 องค์ ทิศเหนือเป็นรูปพระโพธิสัตว์ 5 องค์ ทิศตะวันตกเป็นพระพุทธแสดงธรรมเทศนาแก่พระยามาร และบริวาร ทิศตะวันออกเป็นรูปพระโพธิสัตว์ไตรโลกยวิชัย 4 พักตร์ 8 กร และพระพุทธรูปปางสมาธิทรงเครื่อง 10 องค์ ทับหลังทั้งสี่นี้เป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงว่าปราสาทหินพิมายเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนา


ภาพจำหลักเกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ใช้ประดับแตกแต่งบริเวณหน้าบันและทับหลังด้านนอก


ปรางค์พรหมฑัต ปรางค์ศิลาแลงข้างปรางค์ประธาน สร้างโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในช่วง พ.ศ. 1724-1763 เป็นที่ตั้ง ของประติมากรรมรูปพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ศิลปะแบบบายน ซึ่งชาวบ้านเรียกกันว่า “รูปท้าวพรหมฑัต”


ปรางค์หินแดง อยู่ข้างปรางค์ประธาน สร้างด้วยหินทรายสีแดง สมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ในพุทธศตวรรษที่ 17
http://www.moohin.com/activity/history141.shtml

อุทยานปราสาทหินพิมาย



อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย อยู่ในอำเภอพิมาย มีปราสาทหินพิมาย ซึ่งเป็นศาสนสถานที่ใหญ่โตและงดงามที่สุดแห่งหนึ่ง สร้างขึ้นในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 16 และมาต่อเติมอีกครั้งในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 18 ซึ่งครั้งนั้นเมืองพิมายเป็นเมืองใหญ่ของขอมบนแผ่นดินที่ราบสูง
เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 07.30 - 18.00 น.
...ค่าเข้าชมคนละ 10 บาท สำหรับคนไทย
...ค่าเข้าชมคนละ 40 บาท สำหรับชาวต่างประเทศ
...นักเรียน นักศึกษาในเครื่องแบบ ภิกษุ สามเณร นักบวชต่างๆ เข้าชมฟรี
ปราสาทหินพิมาย หันหน้าไปทางทิศใต้ อันเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงแห่งอาณาจักรขอม แผนผังของปราสาทแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ

ลานชั้นใน ซึ่งล้อมรอบด้วยระเบียงคดหรือกำแพง ชั้นในมีปรางค์ประธานสร้างด้วยหินทรายสีขาว ตั้งอยู่กลางลาน หน้าบันและทับหลังส่วนใหญ่สลักเป็นภาพเล่าเรื่องรามายณะ ( รามาวตาร ) และกฤษณาวตาร หน้าบันด้านหน้าสลักเป็นภาพศิวนาฏราช ส่วนทับหลังของประตูห้องชั้นในขององค์ปรางค์สลักเป็นภาพทางพุทธศาสนคตินิกายมหายาน ด้านหน้าปรางค์ประธานเยื้องไปทางซ้ายและขวามีปรางค์ขนาดเล็กอีกสองหลัง คือปรางค์พรหมทัต สร้างด้วยศิลาแลงและปรางค์หินแดงสร้างด้วยหินทรายสีแดง

ลานชั้นนอก ถัดจากระเบียงคดออกมาเป็นลานชั้นนอก ล้อมรอบด้วยกำแพงอีกชั้นหนึ่ง ประกอบด้วยบรรณาลัยสองหลัง ตั้งคู่กันอยู่ทางด้านทิศตะวันตก มีสระน้ำอยู่ทั้งสี่มุม ทางเข้าด้านหน้ากำแพงชั้นนอกมีสะพานนาคราช และประติมากรรมรูปสิงห์

กำแพงล้อมรอบลานชั้นนอก ถัดจากกำแพงด้านนอกออกไปมีกำแพงล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง ปัจจุบันมีให้เห็นชัดเจนทางด้านทิศใต้ มีโบราณสถานนอกเขตกำแพงเมือง ได้แก่ ท่านางสระผม กุฏิฤๅษี และอโรคยาศาล

ไทรงาม มีอายุประมาณ 350 ปี ต้นไทรแตกกิ่งก้านสาขาครอบคลุมพื้นที่กว้างขวางร่มรื่น เป็นสถานที่มีชื่อเสียงตั้งแต่สมัยสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถเสด็จประพาสเมืองพิมาย เมื่อ พ.ศ. 2454

แหล่งข้อมูลอื่นกรมศิลปากร
หอมรดกไทย
พิมายอารยธรรมขอมโบราณ
ชุมชนพิมาย
ข้อมูลและภาพถ่ายอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
เทศบาลตำบลพิมาย

วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ศึกษาประวัติปราสาทหินพิมาย

ผู้เสนอโครงงาน
1.น.ส.สมฤทัย ชะนะทะเล เลขที่ 30
2.น.ส.วรรณภา ชาแก้ว เลขที่ 10
3.น.ส.อนัฒศรา พิมเบ้า เลขที่ 31
4.นายชาญวิทย์ บุญรุ่ง เลขที่ 14
5.นายภานุวัฒน์ พัดประคอง เลขที่ 20
6.นายบัญชา สระภูมิ เลขที่ 7
8.นายสุรพล มะเริงสิทธิ์ เลขที่ 4
9.นายพนม ชฎาแก้ว เลขที่ 17
10.นายบรรพต จันทราช เลขที่ 16
11.น.ส.ธินดารัตน์ กาดนอก เลขที่27
12.น.ส.สมฤดี สายัญ เลขที่ 1
13.น.ส.นันทวัน เสาทอง เลขที่ 28
14.น.ส.รุ้งลาวัลย์ ผลศิริ เลขที่ 35
15.น.ส.บังอร ชินหัวดง เลขที่ 29
16.น.ส.สุนิสา พันธุจินะ เลขที่ 35
นักเรียนชั้นมัธยมสึกษาปีที่4/6
อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน
อาจารย์ศิริพร วีระชัยรัตนา
ข้อมูลของภูมิปัญญาท้องถิ่นที่จะศึกษา
ต้องการศึกษาเกี่ยวกับแหล่งวัตถุโบราณสถานของอำเภอใกล้เคียง
จุดประสงค์
1.ต้องการทราบประวัติโบราณสถาน
2.สามรถบอกประวัติและที่มาได้
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
ศึกษาที่แหล่งข้อมูลของอำเภอ เพื่อต้องการทราบประวัติ
วิธีการดำเนินงาน
1.ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล
2.ลงมือปฏิบัติงาน

ปราสาทหินพิมาย



ประวัติ
เมืองพิมายเป็นเมืองที่สร้างตามแบบแผนของศิลปะขอม มีลักษณะเป็นเวียงสี่เหลี่ยม ชื่อ พิมาย น่าจะมาจากคำว่า วิมาย หรือ วิมายปุระ ที่ปรากฏในจารึกภาษาขอมบนแผ่นหินตรงกรอบประตูระเบียงคดด้านหน้าของปราสาท จากหลักฐานศิลาจารึกและศิลปะสร้างบ่งบอกว่า ปราสาทหินพิมายคงเริ่มสร้างขึ้นสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ในฐานะเทวสถานของศาสนาพราหมณ์ รูปแบบของศิลปะเป็นแบบบาปวนผสมผสานกับศิลปะแบบนครวัด ซึ่งหมายถึงปราสาทนี้ได้ถูกดัดแปลงมาเป็นสถานที่ทางศาสนาพุทธในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗

เมื่ออิทธิพลของวัฒนธรรมขอมเริ่มเสื่อมลงหลังรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ และมีการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยในเวลาต่อมา เมืองพิมายคงจะหมดความสำคัญลง และหายไปในที่สุด เนื่องไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับเมืองพิมายเลยในสมัยสุโขทัย

ในปี พ.ศ. ๒๔๗๙ กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนปราสาทหินพิมายเป็นโบราณสถาน และได้จัดตั้งเป็น อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ในวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๒ โดยได้ดำเนินการปรับปรุงจัดตั้งถึง ๑๓ ปี ร่วมมือกันระหว่างกรมศิลปากร และประเทศฝรั่งเศส ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ – ๒๕๓๒ ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯ พระราชดำเนิน เป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอุทยาน
http://th.wikipedia.org/wiki